ห้องเรียนพหุวัฒนธรรม : ว่าด้วยทุนความรู้ วิธีจัดการเรียนรู้ และอัตมโนทัศน์ของครูนาฏศิลป์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ครูนาฏศิลป์กับบทบาทนักปฏิบัติการสอนทางด้านวัฒนธรรมสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมสาระสำคัญคือ การพัฒนาให้ครูก้าวข้ามแนวคิดและวิธีจัดการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม ๆ ที่ยึดโยงตัวเองเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ไปสู่แนวทางการทำงานร่วมกับผู้เรียนอย่างเข้าอกเข้าใจและเคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามครูนาฏศิลป์จึงต้องมั่นใจว่ามีทั้งชุดความรู้ ทักษะ และเจตคติที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาสำหรับห้องเรียนพหุวัฒนธรรม แนวทางดำเนินการจึงต้องพิจารณามุมมองสำคัญ 3 ประการ ประกอบด้วย 1. ทุนความรู้ทางวัฒนธรรม เป็นความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของตนเอง วัฒนธรรมของผู้เรียน และวัฒนธรรมเชิงพื้นที่สถานศึกษา 2. การให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและน่าสนใจ ได้แก่ 2.1 การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมเป็นการขยับขยายหุ้นส่วนการเรียนรู้ไปยังผู้ปกครอง ครู และชุมชนให้มีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสมดุล อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาสาระ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลอย่างอิสระตามที่ต้องการ 2.2 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกในชั้นเรียน เป็นวิธีการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในกลุ่มโดยที่ครูเป็นผู้ประคับประคองให้ผู้เรียนเกิดทักษะเฉพาะวิชาและทักษะสังคมข้ามวัฒนธรรมควบคู่กันไป และ 2.3 การบูรณาการเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ในมิติการเพิ่มเติมเนื้อหาที่เกาะเกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้เรียนโดยตรง การลดทอนเนื้อหา สื่อและวาทกรรมที่กดทับวัฒนธรรมรอง การเพิ่มรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมเล็ก ๆ ในพื้นที่โรงเรียน รวมถึงการเปิดพื้นที่เพดานสิทธิทางวัฒนธรรมให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างอิสระ และ 3. อัตมโนทัศน์เชิงบวกที่นำไปสู่ความเป็นธรรมในชั้นเรียน เป็นการแปรเปลี่ยนความอคติของครูที่มีต่อวัฒนธรรมรองนำไปสู่ท่าทีและลีลาการสอนที่เปิดกว้างสำหรับผู้เรียนที่ภูมิหลังมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมในชั้นเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Arpatthananon, T. (2020). Developing multicultural schools to enhance cultural competency through education for teachers and students in Thailand. Final research reports. Nakhon Pathom: Mahidol University. (in Thai)
Banks, J. A. (2007). Educating citizens in a multicultural society. New York: Teachers College Press.
Boontongleg, M. (2021). Developing a learning management model of Thai dance for global citizenship.doctoral dissertation. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)
Boonyaphitak, S. (2017). The innovation of student teachers development to enhance teaching competency for learning to live together. Final research reports. Bangkok: National Research Council of Thailand and The Thailand Research Fund. (in Thai)
Nawarat, N. (2018). Multicultural education critical perspectives and praxis in schooling. Chiang Mai: ChiangMai University. (in Thai)
Nieto, S. (2007). School reform and student learning: A multicultural perspective. New Jersey: Wiley.
Nukunrot, J. (2023). A model for the development of competency in multicultural learning management of dance teachers in the southern area. doctoral dissertation. Srinakharinwirot University. (in Thai)
Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre. (2024). Information on ethnic groups in Thailand [Online]. Retrieved June 1, 2024, from: https://sac.gdcatalog.go.th/sr_Latn/dataset/ethnic-groups. (in Thai)
Scharmer, C. Otto. (2007). Theory – U leading from the future as it emerges. San Francisco: Berrett – Koehler Publishers.
Senge, P. (2017). Schools that learn: A fifth discipline fieldbook for educators, parents, and everyone who cares about education. Bangkok: National Library of Thailand.
Sirisakdamkeung, P. (2006). Multiculturalism. Bangkok: Silpakorn University. (in Thai)
Thomas, E. (2002). Culture and schooling: Building bridges between research, praxis and professionalism. New Jersey: John Wiley and sons.
Willis, I. (2000). Critical issue: Addressing literacy needs in culturally and diverse classrooms. north central regional educational lab. Illinois: Oakbrook Center.