สมรรถนะการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมสู่การขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมของนักศึกษาปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

รูดียะห์ หะ
นิเลาะ แวอุเซ็ง
อับดุลฮากัม เฮ็งปิยา

บทคัดย่อ

สถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะทางจริยธรรมและมีความตระหนักต่อปัญหาจริยธรรมในสังคม โดยเฉพาะผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาที่ถือเป็นปัญญาชนของพื้นที่ ควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาโดยใช้กลไกของการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมสู่การขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมของนักศึกษาปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน ประกอบด้วย อาจารย์ มหาวิทยาลัย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กิจการนักศึกษา นักเคลื่อนไหวทางสังคม ผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยา และนักวิชาการศาสนา ใช้วิธีการคัดเลือกแบบลูกโซ่ตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบข้อมูลโดยวิธีการสามเส้า นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักศึกษาปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษามี 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 รอบรู้แก่นจริยธรรมและประเด็นทางสังคม ครอบคลุมทั้งหลักจริยธรรมสากลและหลักจริยธรรมตามคำสอนศาสนาต่าง ๆ องค์ประกอบที่ 2 ความเป็นกลางต่อเพื่อนมนุษย์ แสดงออกอย่างเป็นกลาง รู้ทันความอคติ และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น องค์ประกอบที่ 3 การคิดเชื่อมโยงเป็นระบบโดยใช้หลักตรรกะ สามารถใช้เหตุผลอธิบายอย่างเป็นระบบและใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองข้อเท็จจริงจากหลากหลายแง่มุม และองค์ประกอบที่ 4 การสื่อสารจริยธรรมอย่างสร้างสรรค์ รอบคอบ และสอดคล้องกับผู้รับสาร โดยข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการและสังคม สามารถนำองค์ประกอบเหล่านี้ไปพัฒนาเป็นหลักสูตรและกิจกรรมบ่มเพาะจริยธรรมของผู้เรียน ตลอดจนพัฒนาเป็นกลไกการขับเคลื่อนคุณธรรมในสถาบันอุดมศึกษาให้มีความเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Al-ghazali. [n.d.]. Ihya Ulum al-Din. (Vol. 3). Beirut: Dar Ibn Hazm.

Andi, A., Nasir, M., Benlakhdhar, E. & Jasmin, S. (2023). Strengthening Wasatiyyah for the youth through Islamic education. Tafahus: Jurnal Pengkajian Islam, 3(1), 1-19.

Bruni, S. & Cesario, J. (2020). The power of storytelling for ethical persuasion. Current Directions in Psychological Science, 29(6), 642-648.

Cameron, C. D., Conway, P. & Scheffer, J. A. (2022). Empathy regulation, prosociality, and moral judgment. Current Opinion in Psychology, 44(1), 188-195.

Chantavanich, S. (2016). Qualitative Research Methods. (12th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).

Kohlberg, L. (1981). The Philosophy of Moral Development: Moral Stages and the Idea of Justice. New York: Harper & Row.

McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence rather than for "Intelligence". American Psychologist, Harvard University, January 1973, 1-14.

McDonald, J., Graves, J., Abrahams, N., Thorneycroft, R. & Hegazi, I. (2021). Moral judgement development during medical student clinical training. BMC medical education, 21(1), 140.

Meehanpong, P. & Chatdokmaiprai, K. (2018). Assessing Quality of Research Instrument in Nursing Research, Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19(1), 9–15. (in Thai)

Muangprasert, N. (2021). Communication factors affecting performance of staff of the faculty of commerce and accountancy Chulalongkorn university. Master’s Thesis, Chulalongkorn University. (in Thai).

Office of the National Strategic Committee. (2019). National Strategy 2018-2037. (2nd Ed.). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board. (in Thai)

Srisuwan, J. (2022). Development of a system for measuring and evaluating ethical reasoning competence for students. Doctor of Education Dissertation, Thammasat University. (in Thai)

The Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2020). The future of education and skills Education 2030 [Online]. Retrieved 12 May, 2024, from: https://www.oecd-ilibrary.org/education/books

Tongsamsi, K. & Promgird, P. (2017). Variables affecting academic integrity of undergraduates in Three Southern Provinces. Humanities & Social Sciences, 34(3), 167-192. (in Thai)

Wanna, A., Sikkhabandit, S. & Onmung, P. (2016). Self-discipline management model for private higher education students. Journal of industrial education, 10(1), 109-118. (in Thai)