การบูรณาการกระบวนการ CPA และโปรแกรมแมทติกอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ฐิตารีย์ สำรี
จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม

บทคัดย่อ

ทักษะและกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนา ผู้วิจัยจึงมุ่งหาวิธีพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะดังกล่าว โดยการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบูรณาการกระบวนการ CPA และโปรแกรมแมทติกอน และ 2) ศึกษาผลการบูรณาการกระบวนการ CPA และโปรแกรมแมทติกอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดสุโขทัยที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านแหล่งข้อมูล และการวิเคราะห์โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกประเด็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบูรณาการ CPA และโปรแกรมแมทติกอนเริ่มต้นด้วยการใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แล้วเปลี่ยนไปเป็นภาพเพื่อช่วยให้ได้แสดงแนวคิด จากนั้นจึงพัฒนาไปสู่การนำเสนอแนวคิดเชิงนามธรรม โดยมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างการเชื่อมโยง และการใช้เทคโนโลยี 2) ผลการบูรณาการ CPA และโปรแกรมแมทติกอนพบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับดี โดยด้านความสามารถด้านการทำความเข้าใจปัญหามีระดับสูงที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินการแก้ปัญหา การวางแผนการแก้ปัญหาและการตรวจสอบคำตอบ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonjong, J. (2017). A study of teachers' opinions on media use technology in teaching and learning management of schools in the Ubon Ratchathani diocese [Online]. Retrieved October 3, 2023, from: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/1566.ru (in Thai)

Bruner, J.S. (1966). Studies in Cognitive Growth: A Collaboration at the Center for Cognitive Studirs. New York: John Wiley & Sons.

Chalermchai, W., Sucaromana, U., Pahuyut, P. & Suriyadsin, S. (2020). The effects of group dynamics activities on the enhancement of the teamwork of student council committee members. Rajapark journal, 14(37), 188-203. (in Thai)

Chang, S. H., Lee, N. H. & Koay P. L. (2017). Teaching and learning with concrete – pictorial - abstract sequence: A proposed model. The Mathematics Educator, 17(1), 1-28.

Chotwinyu, N., Kongthip, Y. & Chaladgarn, T. (2022). A study of mathematical problem-solving ability in linear equations in one variable of grade 7 students using Concrete-Pictorial-Abstrace: CPA Approach. Journal of Industrial Education, 21(1), 33-43. (in Thai)

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. (3rd Ed.). Geelong: Deakin University Press.

Kongsilp, N. (2018). Teaching Mathematics in 21st Century. (1st Ed.). Pathum Thani: Pimpijit. (in Thai)

Leong, Y. H., Ho, W. K. & Cheng, L. P. (2015). Concrete-Pictorial-Abstract: Surveying its origins and charting its future. The Mathematics Educator, 16(1), 1-18.

Makanong, A. (2011). Mathematical Skills and Processes: Development for Advancement. (1st Ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Ministry of Education. (2017). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (Revised Edition). (1st Ed.). Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Publisher. (in Thai)

Ministry of Education Singapore. (2013). Nurturing Early Learners (6th Ed.). Singapore: Author

Phirttikun, S. (2012). Quality of students derived from active learning process. Journal of Educational

Administration Burapha University, 6(2), 1-13. (in Thai)