หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ

Main Article Content

พระสุนทรกิตติคุณ

บทคัดย่อ

     ผู้สูงอายุเป็นวัยแห่งความเสื่อมถอย แนวคิดทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงองค์ประกอบในการดำเนินชีวิตที่มีองค์รวม ๓ ด้าน มีชื่อว่า ไตรสิกขา กล่าวคือ (๑) การพัฒนาด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทั้งสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางสังคม เรียกรวมกันว่า ศีล (๒) การพัฒนาด้านจิต และสุขภาพให้เป็นจิตใจที่ดีงาม เข้มแข็ง มีความสุข โดยมีเจตจำนงที่เป็นกุศล และมีสภาพเอื้อพร้อมต่อการใช้งานทางปัญญา เรียกสั้นๆ ว่า สมาธิ (๓) การพัฒนาด้านปัญญา ซึ่งการดำเนินชีวิตเป็นองค์รวมทั้ง ๓ ด้านนั้นต้องมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงถึงกันอย่างต่อเนื่อง และแนวคิดหลักไตรสิกขา สามารถนำมาพัฒนา ๔ ด้าน คือ ภาวนา ๔ การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุสู่การดำเนินชีวิตที่ดีงามได้นั้น หลักไตรสิกขาเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง สามารถนำไปพัฒนา ๔ ด้าน คือ ภาวนา ๔ ประกอบด้วย กายภาวนา คือ การดูแลตนเองด้ายกายภาพ ศีลภาวนาคือ การดูแลตนเองด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น จิตตภาวนาคือ การดูแลสภาวะจิตใจตนเอง และปัญญาภาวนาคือ การคิดพิจารณาทุกสิ่งอย่างรอบคอบ บุคคลที่ปฏิบัติตามหลักภาวนา ๔ ย่อมส่งผลให้มีความสุขดีตามมา เพราะเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
พระสุนทรกิตติคุณ. “หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 3, ฉบับที่ 1, สิงหาคม 2018, น. 11-25, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/141635.
บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ๒๕๔๕. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๖).

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. บูรณาการระบบดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุไทย, รายงานฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส. ผส) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เจพริ้นท์, ๒๕๕๔.

สุชาดา ทวีสิทธิ์. บทบรรณาธิการ: การเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพื่อการวิจัยผู้สูงอายุ. ใน สุชาดา ทวีสิทธิ์ และ สวรัย บุณยมานนท์ (บรรณาธิการ). ประชากรและสังคม, ๒๕๕๓.

คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย. เอกสารวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลหมายเลข ๓๗๒. พิมพ์ครั้งที่ ๑. นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย. พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๗๓ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ๒๕๕๐. สรุปผลที่สำคัญการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. ม.ป.ท.,ม.ป.พ.,ม.ป.ป. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุประเทศไทย ๒๕๕๐. ม.ป.ท.,ม.ป.พ., ๒๕๕๑.

เพื่อนแก้ว ทองอำไพ. การวิเคราะห์สารสนเทศงานวิจัย ด้านผู้สูงอายุ. ม.ป.ท.,ม.ป.พ., ๒๕๕๔.

Glascock, A., &Feinman, S. Social asset or social burden: Treatment of the Aged in non-industrial societies. In C. Fry (Ed.), Dimensions: Aging, Culture, and health. Hadley: Ma: Bergin & Garvey, 1981.