Information For Authors
Author Guidelines
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
กองบรรณาธิการได้กำหนดระเบียบการส่งต้นฉบับไว้ให้ผู้เขียนยึดเป็นแนวทางในการส่งต้นฉบับสำหรับการตีพิมพ์ลงวารสารมหาจุฬาวิชาการ กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และกองบรรณาธิการสามารถตรวจสอบต้นฉบับก่อนการตีพิมพ์ เพื่อให้วารสารมีคุณภาพสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ และมีค่าตีพิมพ์บทความตามประกาศ เรื่อง เกณฑ์ค่าใช้จ่ายวารสารมหาจุฬาวิชาการ
1. การเตรียมต้นฉบับ มีรายละเอียดดังนี้
1.1 ขนาดของต้นฉบับ พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษสั้นขนาดเอ 4 โดยเว้นระยะห่างระหว่างขอบกระดาษด้านบนและซ้ายมือ 3.17 เซนติเมตร ด้านล่างและขวามือ 2.54 เซนติเมตร
1.2 รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง ใช้รูปแบบอักษร Angsana New หรือ TH SarabunPSK พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยใช้ขนาด ชนิดของตัวอักษร รวมทั้งการจัดวางตำแหน่ง ดังนี้
1.2.1 ขนาดกระดาษ ประกอบด้วย
1) ชื่อเรื่องต้นฉบับของผู้เขียน ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
2) เลขหน้า ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวา
1.2.2 ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ขนาด 20 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.2.3 ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ขนาด 20 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.2.4 ชื่อผู้เขียน (ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ) พร้อมระบุตำแหน่งทางวิชาการ ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวา ใต้ชื่อเรื่อง (ในกรณีที่มีอาจารย์ที่ปรึกษาให้ลงชื่ออาจารย์
ที่ปรึกษาด้วย)
1.2.5 ที่อยู่หรือหน่วยงานสังกัดของผู้เขียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวา ใต้ชื่อผู้เขียนและในบรรทัดถัดมา
- ให้ใส่อีเมล์ .....................................................มือถือ (ถ้ามี).................................
- Received : ........................................................................
- Revise : ........................................................................
- Accepted : ........................................................................
1.2.6 หัวข้อของบทคัดย่อไทย/อังกฤษ ขนาด 18 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ใต้ที่อยู่/หน่วยงานสังกัดของผู้เขียน
1.2.7 เนื้อหาบทคัดย่อภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 แท็บ (Tab) จากขอบกระดาษด้านซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
1.2.8 หัวข้อของคำคีย์เวิลด์ ภาษาไทย ขนาด 18 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดซ้ายหน้ากระดาษ ใต้บทคัดย่อภาษาไทย
1.2.9 หัวข้อของคำคีย์เวิลด์ภาษาอังกฤษ ขนาด 18 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดซ้ายหน้ากระดาษ ใต้บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
1.2.10 หัวข้อเรื่อง ขนาด 18 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
1.2.11 หัวข้อย่อย ขนาด 16 ชนิดตัวหน้า ระบุหมายเลขหน้าหัวข้อย่อยโดยเรียงตามลำดับหมายเลขตำแหน่งเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้าย
1.2.12 เนื้อหา ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
1.3 จำนวนหน้าต้นฉบับ ควรมีความยาวประมาณ 8-16 หน้า
1.4 การอ้างอิงการเขียน เอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม และการใช้อักษรย่อคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2. การเรียงลำดับเนื้อหาต้นฉบับมหาจุฬาวิชาการ
เนื้อหาภาษาไทยที่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ควรแปลเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด (ในกรณีที่คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นคำเฉพาะที่แปลไม่ได้ หรือแปลแล้วไม่ได้ความหมายชัดเจนให้ทับศัพท์ได้) และควรใช้ภาษาที่ผู้อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อนเนื้อหาต้องเรียงลำดับดังนี้
2.1 ชื่อเรื่อง (title of the article) ควรสั้น และกระทัดรัด ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน
2.2 ชื่อผู้เขียน เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระบุตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี)
2.3 ที่อยู่ ระบุชื่อหน่วยงาน หรือสถาบัน เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (บรรทัดถัดมา)
- ให้ใส่อีเมล์ .....................................................มือถือ (ถ้ามี).................................
- Received : ........................................................................
- Revise : ........................................................................
- Accepted : ........................................................................
2.4 บทคัดย่อ (Abstract) เขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เขียนสรุปสาระสำคัญของเรื่อง อ่านและเข้าใจง่าย ความยาวไม่ควรเกิน 500 คำ โดยให้นำบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อน บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ซึ่งแปลจากบทคัดย่อภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษต้องมีเนื้อหาตรงกัน ใช้อักษรตัวตรง
2.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่างๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้งนี้ สมมติฐานของการศึกษา ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการศึกษาให้ชัดเจน เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกเหตุผลนำไปสู่การศึกษางานวิชาการหรืองานวิจัย และควรอ้างอิงงานวิชาการหรืองานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบ
2.6 วัตถุประสงค์ (Objective) ให้ชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา
2.7 วิธีการศึกษา (methods) ต้นฉบับด้านศาสนา และปรัชญา รวมถึงพระพุทธศาสนาที่บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ควรอธิบายรายละเอียดของวิธีการศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ในการศึกษา และวิธีการศึกษาที่ใช้ในการวิจัยให้ละเอียดพอที่ผู้อ่านสามารถทำการศึกษาซ้ำได้ รวมทั้งสถิติที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล
2.8 ผลการศึกษา (Results) เป็นการเสนอสิ่งที่ได้จากการวิจัยเป็นลำดับอาจแสดงด้วยตารางกราฟ แผนภาพประกอบการอธิบาย ทั้งนี้ถ้าแสดงด้วยตาราง ควรเป็นตารางแบบไม่มีเส้น ขอบตารางด้านซ้ายและขวา หัวตารางแบบธรรมดา ไม่มีสี ตารางควรมีเฉพาะที่จำเป็น ไม่ควรมีเกิน 5 ตาราง สำหรับรูปภาพประกอบควรเป็นรูปภาพขาว-ดำ ที่ชัดเจนและมีคำบรรยายใต้รูป กรณีที่จำเป็นอาจใช้ภาพสีได้ และภาพประกอบ (Figure) และตาราง (Table) ควรมีเท่าที่จำเป็น โดยพิมพ์หน้าละ 1 ภาพ หรือ 1 ตาราง สำหรับคำบรรยายภาพและตารางให้พิมพ์ใต้ภาพหรือตาราง
2.9 บทสรุป (Conclusion) และข้อเสนอแนะ (recommendation) เป็นการสรุปผลที่ได้จากการวิจัย ควรมีการอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เพียงใด และควรอ้างทฤษฎีหรือเปรียบเทียบการทดลองของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นด้วยตามหลักการ หรือคัดค้านทฤษฎีที่มีอยู่เดิม รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการนำผลไปใช้ประโยชน์ และการให้ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต หรือ
วิจารณ์ (Discussion) เป็นการอภิปรายผลจากข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์
นำมาเปรียบเทียบกับผลการทดลองของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ด้วย
2.10 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) เป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่ช่วยเหลือให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพียงสั้นๆ (อาจมี หรือไม่มีก็ได้)
2.11 บรรณานุกรม (ฺฺBibliography) เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และแนวการการอ้างอิงแนวการเขียนตำราของมหาวิทยาลัย และการอ้างอิงคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาให้ใช้ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยใช้รูปแบบการอ้างอิงตามมาตรฐานของคู่มือการทำวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สามารถสืบค้น
ได้จาก https://jma.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2019/05/ref.pdf
3. ประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร
วารสารมหาจุฬาวิชาการ ตีพิมพ์บทความประเภทต่างๆ ดังนี้
1. บทความพิเศษ บทความทางวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้นและผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการ
ในวงการวิชาการ/วิชาชีพ
2. บทความทางวิชาการ ที่เสนอเนื้อหาความรู้ วิชาการไม่เข้มข้นนัก เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนทั่วไป
3. บทความวิจัย (Research article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน
4. บทความปริทรรศน์ (Review article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือและวารสารใหม่ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์วิจารณ์เปรียบเทียบกัน
5. ปกิณณกะ (Miscellany) ได้แก่ บทความทบทวนความรู้ เรื่องแปล ย่อความจากวารสารต่างประเทศ การแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ วิพากษ์แนะนำเครื่องมือใหม่ ตำราหรือหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ หรือข่าวการประชุมทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
4. การส่งต้นฉบับ
ผู้เขียนส่งต้นฉบับที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสารมหาจุฬาวิชาการ จำนวน 2 ชุด พร้อมแผ่นดิสก์ ส่งด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนมาที่
กองบรรณาธิการ วารสารมหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เลขที่
79 หมู่ 1 ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 หรือทาง e-mail :
su_cha2509@hotmail.com กรณีที่บทความได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ บรรณาธิการจะแจ้งให้
ผู้นิพนธ์ส่งบทความต้นฉบับที่แก้ไขครั้งสุดท้าย พร้อมซีดีรอม (CD ROM) ที่บรรจุเนื้อหาและข้อมูล
ที่มีอยู่ในบทความทั้งหมดที่ได้แก้ไขแล้ว ทั้งนี้ผู้นิพนธ์ต้องมีสำเนาเก็บไว้ด้วยเพื่อการอ้างอิง
5. การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร
ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอนพร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารเสียก่อน
6. การอ่านประเมินต้นฉบับ
ต้นฉบับจะได้รับการอ่านประเมิน โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชานั้นๆ ไม่น้อยกว่า 2 ท่าน ต่อเรื่อง และส่งผลการอ่านประเมินคืน
ผู้เขียนให้เพิ่มเติม แก้ไข หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่แล้วแต่กรณี
7. ลิขสิทธิ์
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมหาจุฬาวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่า จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯเป็นลายลักษณ์อักษร และเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อ
ในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์ บทความให้แก่วารสาร พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะ
ในวารสารมหาจุฬาวิชาการ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
8. ความรับผิดชอบ
เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมหาจุฬาวิชาการ เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
9. การติดต่อโฆษณาและการสมัครสมาชิก
การติดต่อโฆษณา การสั่งซื้อ เเละการสมัครเป็นสมาชิกวารสารมหาจุฬาวิชาการ กรุณาติดต่อ "บรรณาธิการวารสารมหาจุฬาวิชาการ" กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เลขที่ 79 หมู่ 1 ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170
โทรศัพท์ 035-248-000 (ต่อ 8773, 8756) (นายสุชญา ศิริธัญภร, นายสุภฐาน สุดาจันทร์)
โทรสาร 035-248-013 ภายใน 8773, e-mail : su_cha2509@hotmail.com
อัตราค่าวารสาร กำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ จำหน่ายราคาฉบับละ 150 บาท ไม่รวมค่าส่ง
อัตราสมาชิก ปีละ 200 บาท
10. เกณฑ์ค่าใช้จ่ายวารสารมหาจุฬาวิชาการ
กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ค่าตีพิมพ์บทความภาษาไทย/บทความภาษาอังกฤษ
1.1 คณาจารย์/ผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่ ประเภทผู้เขียน ประเภทบทความ ค่าตีพิมพ์
1 อาจารย์ภายใน มจร บทความวิชาการ 2,000 บาท
2 อาจารย์ภายนอก มจร บทความวิชาการ 2,500 บาท
3 อาจารย์ภายใน มจร บทความวิจัย 3,000 บาท
4 อาจารย์ภายนอก มจร บทความวิจัย 3,500 บาท
5 ผู้ทรงคุณวุฒิ/นักปราชญ์/ผู้เชี่ยวชาญ บทความวิชาการ หรือบทความวิจัย ฟรีค่าใช้จ่าย
1.2 ประเภทนิสิต/นักศึกษา
1) ระดับปริญญาโท
ที่ ประเภทผู้เขียน ประเภทบทความ ค่าตีพิมพ์
1 นิสิตภายใน มจร บทความวิชาการ หรือบทความวิจัย 2,000 บาท
2 นิสิตภายนอก มจร บทความวิชาการ หรือบทความวิจัย 2,500 บาท
2) ระดับปริญญาเอก
ที่ ประเภทผู้เขียน ประเภทบทความ ค่าตีพิมพ์
1 นิสิตภายใน มจร บทความวิชาการ หรือบทความวิจัย 3,000 บาท
2 นิสิตภายนอก มจร บทความวิชาการ หรือบทความวิจัย 3,500 บาท
2. ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิตรวจบทความภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ
ที่ ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ ประเภทบทความ บทความละ
1 ผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอก มจร บทความภาษาไทย 700 บาท
2 ผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอก มจร บทความภาษาอังกฤษ 1,000 บาท
3 ผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอก มจร บทความภาษาอังกฤษ(ด่วน) 1,200 บาท
แบบฟอร์มการส่งต้นฉบับเพื่อพิจารณานำลงในวารสารมหาจุฬาวิชาการ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วันที่...............เดือน..............................พ.ศ..................
1. ข้าพเจ้า (นาย/นาง/น.ส.)...................................................................................................................
2. วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด....................................... ตำแหน่งวิชาการ (ถ้ามี).........................................
3. สถานภาพผู้เขียน
¡ อาจารย์ในสถาบันการศึกษา (ชื่อสถาบัน)..........................................................................
โปรแกรม................................................... คณะ...............................................................
¡ บุคคลทั่วไป (ชื่อหน่วยงาน) ..............................................................................................
4. ขอส่ง
ต้นฉบับ (Original Article) เรื่อง....................................................................................................
…………………………………………………………….........................................……………………………………………
5. ชื่อผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) .........................................................................................................................
6. ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก เลขที่ ............................................ ถนน..........................................
แขวง/ตำบล........................................................... เขต/อำเภอ...........................................................
จังหวัด................................................................... รหัสไปรษณีย์.....................................................
โทรศัพท์......................................โทรศัพท์มือถือ.......................................โทรสาร..........................
E-mail .............................................................................................................................................
7. สิ่งที่ส่งมาด้วย ¡ แผ่นดิสก์ข้อมูลต้นฉบับ ชื่อแฟ้มข้อมูล...............................................................
¡ เอกสารพิมพ์ต้นฉบับ จำนวน 2 ชุด
8. หากบทความนี้ จำเป็นต้องเชิญให้ผู้ทรงคุณวุฒิคนที่ 3 อ่านอีก ข้าพเจ้ายินดีย่อมเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
และหากยังไม่ผ่านอีก ข้าพเจ้ายอมรับและไม่ขอเรียกร้องค่าใช้จ่ายทั้งหมดคืน
ข้าพเจ้าขอรับรองว่าบทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
ลงนาม......................................................ผู้เขียน
(.......................................................)
วันที่........./........../.............
ลงนาม..............................................อาจารย์ที่ปรึกษา (ถ้ามี)
(..............................................)
วันที่.........../............/...........
กระบวนการจัดทำวารสารมหาจุฬาวิชาการ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วารสารมหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นวารสารทางวิชาการ
ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานบทความวิชาการหรืองานวิจัย ในลักษณะนิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัย เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา เพื่อให้บริการทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่สังคม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดทางพระพุทธศาสนา เพื่อยกมาตรฐานการเผยแพร่งานวิชาการทางพระพุทธศาสนาในประเทศให้มีคุณภาพดี เพื่อสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลางของมหาวิทยาลัย จัดพิมพ์ออกเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ประจำเดือนมกราคม ถึง เดือน มิถุนายน เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานจัดทำวารสารมหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยดังต่อไปนี้
1. ประกาศรับต้นฉบับจากคณาจารย์ หรือนักวิจัย ช่วงที่ 1 พ.ย.-ม.ค., ช่วงที่ 2 พ.ค.-ก.ค.
2. กองบรรณาธิการวารสารฯ รับบทความ ตรวจสอบความสมบูรณ์และความถูกต้องของต้นฉบับและพิจารณาเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน
3. กองบรรณาธิการวารสารฯ จัดส่งต้นฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชานั้นๆ อ่านประเมินต้นฉบับ ไม่น้อยกว่า 2 ท่าน ต่อเรื่อง
4. ส่งให้ผู้เขียนแก้ไขตามผลการอ่านประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
5. กองบรรณาธิการวารสารฯ ตรวจสอบคุณภาพบทความและจัดทำเนื้อหาต้นฉบับวารสารมหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
6. กองบรรณาธิการแจ้งยืนยันรับบทความให้ผู้เขียนบทความทราบ
7. ดำเนินการจัดพิมพ์
8. กองบรรณาธิการวารสารฯ ดำเนินการเผยแพร่วารสารฯ
หลักเกณฑ์ในการลงตีพิมพ์ต้นฉบับของวารสารมหาจุฬาวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1. ต้นฉบับที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อการพิจารณาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสาร ใดวารสารหนึ่งมาก่อน
2. ต้นฉบับที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อการพิจารณาต้องไม่อยู่ระหว่างเสนอขอตีพิมพ์ ในวารสารอื่น
3. เนื้อหาในต้นฉบับควรเกิดจากการสังเคราะห์ความคิดขึ้น โดยผู้เขียนเองไม่ได้ลอกเลียนหรือตัดทอนมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่น หรือจากบทความอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือปราศจากการอ้างอิงที่เหมาะสม
4. ผู้เขียนต้องเขียนต้นฉบับตามรูปแบบคำแนะนำที่กำหนด
5. ผู้เขียนได้แก้ไขความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) แล้ว
6. หลังจากผู้เขียนได้แก้ไขบทความเรียบร้อย กองบรรณาธิการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง
กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170
โทรศัพท์ : 035-248-000 ต่อ 8773, 8756 โทรสาร : 035-248-013
e-mail : su_cha2509@hotmail.com
www.jma.mcu.ac.th
ขั้นตอนการดำเนินงานวารสารมหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย