การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย

Main Article Content

พระมหายุทธนา นรเชฏโฐ (ศิริวรรณ)
จุฑารัตน์ ทองอินจันทร์

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย ๓ ประการ คือเพื่อศึกษาหลักการอยู่ร่วมกันทางศาสนาของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์หลักการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยตามหลักการทางศาสนาและหลักสิทธิมนุษยชน และเพื่อนำเสนอหลักการและรูปแบบการอยู่ร่วมกันตามหลักการของศาสนาของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย กับการสร้างมั่นคงทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรม วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูล
จากเอกสาร และการสังเคราะห์ข้อมูลจากโครงการวิจัยย่อยทั้ง ๕ โครงการ แล้วสรุปเป็นองค์ความรู้ที่เหมาะสมสำหรับคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย
     ผลการศึกษา พบว่า หลักการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย ตามหลักการของศาสนาที่สำคัญในประเทศไทย คือพระพุทธศาสนา ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาซิกข์ มีความสอดคล้องกันคือ การอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความเมตตา ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน เคารพในความแตกต่างของกันและกัน และการมีกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และต่อเนื่อง หลักการอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยตามหลักการทางศาสนาและหลักสิทธิมนุษยชนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือหลักการอยู่ร่วมกันของแต่ละศาสนาแม้จะมีลักษณะเฉพาะคำสอนที่แตกต่างกัน แต่มีหลักการที่ใกล้เคียงกัน เช่น หลักศีล ๕ ในพระพุทธศาสนา บัญญัติ ๑๐ ประการ ในศาสนาคริสต์ หลักศรัทธา ๖ ประการในศาสนาอิสลาม เป็นต้น ขณะที่หลักการอยู่ร่วมจากโครงการย่อยทั้ง ๕ พื้นที่วิจัยมีผลการวิจัยสอดคล้องกัน คือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนของในศาสนาของตนเอง การเคารพในสิทธิเสรีภาพของกันและกัน และการมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ระหว่างคนในชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนนั้นที่เน้นการเคารพในสิทธิและเสรีภาพของกันและกันในฐานะที่ทุกคนเป็นมนุษย์ด้วยกัน โดยทุกคนในสังคมต้องให้ความสำคัญต่อสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์และพลเมือง ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ในประเด็นสุดท้าย หลักการและวิธีการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยกับการสร้างมั่นคงทางสังคม จึงตั้งอยู่บนแนวทางที่พึงประสงค์สำหรับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย คือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และการสร้างสรรค์ประโยชน์สุขเกิดขึ้นแก่คน องค์กรและส่วนรวมในสังคม โดยคำนึงความเจริญ และความสงบสุขของประเทศชาติเป็นสำคัญ 
     จากงานศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอเสนอแนะว่า ภาครัฐควรมีนโยบายสนับสนุนให้ศาสนิกชนของแต่ละศาสนามีแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างชัดเจน ศาสนิกชนของแต่ละศาสนาควรตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของในการปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนในศาสนาของตนเองอย่างถูกต้อง ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วในชุมชนหรือสังคมด้วยความจริงใจ และปรับทรรศนะต่อการอยู่ร่วมกันให้ถูกต้อง

Article Details

How to Cite
นรเชฏโฐ (ศิริวรรณ) พ., และ ทองอินจันทร์ จ. “การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 7, ฉบับที่ 1, กุมภาพันธ์ 2020, น. 102-18, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/166929.
บท
บทความวิจัย

References

ครองชัย หัตถา, รศ.ดร. สังคมพหุวัฒนธรรมกับความมั่นคงของชาติ กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานการศึกษาวิจัย. สนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, ๒๕๕๐.

บรรจง ฟ้ารุ่งสาง. การศึกษาในวิถีพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้. พิมพ์ครั้งที่ ๒. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนสามัญสมใจนึก พริ้นท์ แอนด์ ก๊อบปี้ เซ็นเตอร์, ๒๕๕๗

พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร (คำกมล), ดร., บทบัญญัติทางศาสนา : แนวคิดการสร้างสันติในสังคมไทย. รายงานการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙.

พรอุษา ประสงค์วรรณะ. การศึกษาชุมชนต้นแบบต่างศาสนาที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติในแขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.

สุไรยา วานิ. การอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม : กรณีศึกษาตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารการเมืองการปกครอง ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๖ - กุมภาพันธ์, ๒๕๕๗.

อานันท์ กาญจนพันธ์. พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม. รายงานการวิจัย. ศูนย์ภูมิภาคทางสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน. คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๑.

อธิปัตย์ คลี่สุนทร. “การศึกษาพหุวัฒนธรรม (Multicultural Education)”. ในสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสศ, ๒๕๕๒. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.moe.go.th [ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๑].