บทวิพากษ์หนังสือ “ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก”
Main Article Content
Abstract
หากต้องการอ่านหนังสือปรัชญาสักเล่ม และหากต้องการรู้ว่าภูมิกำเนิดปรัชญาแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่
บนโลกมีวิวัฒนาการมาอย่างไร หนังสือเรื่อง “ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก” เล่มนี้ เป็นตัวเลือก
ที่ดีที่สุดอีกเล่มหนึ่ง เพราะเนื้อหาสาระในเล่มได้อธิบายให้เห็นถึงพัฒนาการของปรัชญาไว้อย่างละเอียด
ถี่ถ้วน สามารถอ่านได้ทั้งนักศึกษาและบุคคลทั่วไป มีภาพประกอบสอดแทรกไว้ในแต่ละตอนพร้อมกับ
คำอธิบาย แบ่งวรรคตอนได้อย่างลงตัว
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (ปัจจุบัน คือ พระพรหมบัณฑิต)
กรรมการมหาเถรสมาคม รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาราม ซึ่งหนังสือ
เล่มนี้ พระเดชพระคุณได้เรียบเรียงไว้ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเมธีธรรมาภรณ์ และพิมพ์เผยแพร่
ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ ประมาณ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว และเขียนคำนำ โดย จำนงค์ ทองประเสริฐ :
ราชบัณฑิต นับเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าทางปรัชญาอย่างยิ่งทีเดียว ดังที่ศาสตราจารย์พิเศษ จำนงค์
ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ได้ให้ทัศนะต่อหนังสือเล่มนี้ไว้ว่า เป็นหนังสือที่ดีมีคุณค่ายิ่งเล่มหนึ่ง การเรียบเรียง
ของท่านนับว่ามีหลักฐานที่มาน่าเชื่อถือ ทั้งท่านยังได้แสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ประกอบไว้อีก
ส่วนหนึ่ง จึงนับว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อนิสิตนักศึกษาหรือผู้ที่สนใจในความคิดของนักปรัชญาตะวันตก
ในสมัยโบราณ หนังสือ “ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก” จึงนับว่าเป็นหนังสือวิชาการที่มีคุณค่า
สามารถนำไปศึกษาและอ้างอิงได้เป็นอย่างดียิ่ง
Article Details
References
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม, ๒๕๕๐.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
สุวฒน์ จันทรจำนง. ความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สุขภาพใจ, ๒๕๔๐.