การพัฒนาเกมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ระดับประถมศึกษา เรื่อง สมุนไพรไทยอาหารเป็นยาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น

Main Article Content

ณัจฉรียา อัศวรัตน์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) พัฒนาเกมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ระดับประถมศึกษา เรื่อง สมุนไพรไทยอาหารเป็นยาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น (๒) ประเมินคุณภาพของเกมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ระดับประถมศึกษา เรื่อง สมุนไพรไทยอาหารเป็นยาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น (๓) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีต่อการใช้เกมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เรื่อง สมุนไพรไทยอาหารเป็นยาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษา จำนวน ๑๑๙ คน ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจงเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาจังหวัดนครปฐมที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เกมสมุนไพรอาหารเป็นยาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธี สัมภาษณ์ สอบถาม สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนแบ่งเบนมาตรฐาน


         ผลการวิจัยพบว่า (๑) เกมสมุนไพรอาหารเป็นยามุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ผ่าน การเล่นเกมและการเรียนรู้ด้วยการตอบคำถาม (๒) เกมสมุนไพรอาหารเป็นยาโดยด้วยมีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน มีค่าเฉลี่ยที่ระดับดีมาก (gif.latex?x\bar{} = ๔.๖๙, SD.= ๐.๔๘) (๓) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเกมสมุนไพรอาหารเป็นยามีความความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?x\bar{} = ๔.๓๖, SD. = ๐.๓๖) พิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับ พบว่า ด้านความสวยงามและน่าสนใจในการใช้เกมสมุนไพรอาหารเป็นยา (gif.latex?x\bar{} = ๔.๒๗) ด้านรูปแบบการใช้งานเกมสมุนไพรอาหารเป็นยา (gif.latex?x\bar{} = ๔.๒๘) ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (gif.latex?x\bar{} = ๔.๕๒)

Article Details

How to Cite
อัศวรัตน์ ณ. “การพัฒนาเกมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ระดับประถมศึกษา เรื่อง สมุนไพรไทยอาหารเป็นยาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 9, ฉบับที่ 1, เมษายน 2022, น. 54-69, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/250751.
บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนชม, ๒๕๔๐.

ครรชิต จามรมาน. แนะนำระบบมัลติมีเดีย เอกสารสัมมนาทางวิชาการเรื่อง การใช้ระบบมัลติมีเดีย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

ฉันทนา รวงผึ้ง. “การสร้างความสุขอย่างยั่งยืนเชิงพุทธบูรณาการ”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๓ (กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๓) : ๑๑.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร : วี. อินเตอร์ พริ้นท์, ๒๕๔๙.

ธนะพัฒน์ ถึงสุข และ ชเนนทร์ สุขวารี. เปิดโลกมัลติมีเดีย. กรุงเทพมหานคร : ไอบิช, ๒๕๓๘.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. “ผลของการเชื่อมโยงและรูปแบบเว็บเพจในการเรียนการสอนด้วยเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแก้ปัญหา และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักศึกษาที่มีกระบวนการเรียนรู้ต่างกัน”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕.

รุจิจันทร์ วิชิวานิเวศน์. “การพัฒนาระบบฐานความรู้ด้านการรักษาโรคด้วยสมุนไพร”. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, ๒๕๕๔.

วิเชียร เกตุสิงห์. หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพาณิช, ๒๕๓๘.

เศรษฐชัย ชัยสนิท และเตชา อัศวสิทธิถาวร. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วังอักษร, ๒๕๔๙.

อนุชัย ธีระเรืองชัย. การทำ Presentation ในระบบ Multimedia. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

อิทธิพล อิทธิอำนวยพันธุ์. “เกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สมุนไพรไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, ๒๕๕๓.

Nimnual Ratdawan, & Suksakulchai Surachai. Work in progress collaborative learning for packaging design using KM and VR. Proceedings of Frontiers in Education Conference. Saratoga Spring NY: Frontiers Education, 2008.

Jobert-Egou Cecile. “Learning Management System: A Case Study of the Implementation of a Web-based Competency and Training Management Program at Bell Canada”. [Online]. Available: https://www.lib.umi.com/dissertation/fullcit/ MQ0077921 [19 July 2012].