การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง อริยสัจ ๔ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนอุดมวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง อริยสัจ ๔ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนอุดมวิทยา ที่มีประสิทธิภาพ ๘๐/๘๐ (๒) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (๓) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนอุดมวิทยาที่มีต่อแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง อริยสัจ ๔
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนอุดมวิทยา ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๓๐ คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อและด้านเนื้อหา แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (๑) แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง อริยสัจ ๓ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนอุดมวิทยา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ ๘๐.๐๘/๘๘.๘๓ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ (๒) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และ (๓) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง อริยสัจ ๔ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนอุดมวิทยา อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๒
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชญาตี เงารังสี. “การ์ตูนนิทานเวตาลในฐานะสื่อการสอนคุณธรรมจริยธรรม”. KKU International Journal of Humanities and Social Sciences. Vol. 7 No. 2. (2018): 1-18.
ดำรงค์ฤทธิ์ จันทรา. “การประยุกต์ใช้โปรแกรม Appsheet พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในการสอนพลศึกษา เรื่องสัญลักษณ์ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอลของนักศึกษาชั้นปีที่ ๔”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ. ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑. (๒๕๖๓): ๘๕-๘๖.
นิตยา ย้อยแก้ว และณัฐพล รำไพ. “การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริมร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถาม ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล”. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร. ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑. (๒๕๖๔): ๕๓-๖๒.
พระครูปลัดประสิทธิ์ ปสิทฺโธ. “การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการปฏิบัติงานช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-๑๙ ของข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร”. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒. (๒๕๖๓): ๘๒-๙๖.
ปรัชกร พรหมมา และไพฑูรย์ ศรีฟ้า. “การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมสามมิติประเภทสวมบทบาทเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษในระดับต่ำ”. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ ๘ ฉบับที่๒ (๒๕๖๐): ๒๒๑-๒๒๙.
พัชรินทร์ พูลสวัสดิ์. การพัฒนาแอปพลิเคชันแบบโมบายเลิร์นนิง โดยการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๖๒.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๘.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๙. หน้า ๒๐๔.
ภัทรมาศ จันทน์เทศ และศักดิ์ชาย ตั้งวรรณวิทย์. “การพัฒนาแอปพลิเคชันสำาหรับการติดตามภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย”. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ ๑๖ (NCCIT 2020). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ๒๕๖๓.
กระทรวงศึกษาธิการ. ข่าววงการศึกษา: ศธ.ขับเคลื่อนการสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ และพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.moe.go.th/moe/th/news/. [๑ สิงหาคม ๒๕๖๔].
โคโรนา. โคโรนา: อนามัยโลกตั้งชื่อ "โควิด-๑๙" ให้โรคทางเดินหายใจจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bbc.com/thai/features-51473472. [๑ สิงหาคม ๒๕๖๔].