ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธี IMPROVE ร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Square ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธี IMPROVE ร่วมกับเทคนิค Think Pair Square กับเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ (๒) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธี IMPROVE ร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Square กับเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๘ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โรงเรียนแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีเป็นจำนวน ๓๖ คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (๑) แผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธี IMPROVE ร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Square เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร (๒) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน ๔ ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ ๐.๕๔-๐.๖๕ และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ ๐.๓๒-๐.๖๐ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๑สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test for one sample)
ผลการวิจัยพบว่า (๑) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธี IMPROVE ร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Square สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (๒) ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธี IMPROVE ร่วมกับเทคนิค Think-Pair-Square สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๕. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและภัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), ๒๕๔๕.
วรรณิภา เรียบเรียง. “การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามวิธี IMPROVE”. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๑): ๗๒-๘๕.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์: หลักสูตร การสอนและการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, ๒๕๕๕.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์มืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ส.เจริญการพิมพ์, ๒๕๕๑.
___________. การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๕๕.
___________. สรุปผลการประเมิน PISA ๒๐๒๒ .กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๖๖.
___________. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ๓-คิว มีเดีย, ๒๕๕๕.
สัมภาษณ์ นลินญา บุญเต็ม, ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนแสนสุข จังหวัดชลบุรี, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔.
สิริพร ทิพย์คง. การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๔.
อัมพร ม้าคนอง. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๓.
Atkinson; R.C.; & Shiffrin, R.M. Human Memory : A Proposed System and Its Control Processes. The Psychology of Learning and Motivation: Advanced in Research and Theory. New York: Academic, 1968.
Hermiatis. “The Effectiveness of Think-Pair-Square (TPS) Strategy in Teaching Students' Listenning Comprehension at the Second Grade in SMA Negeri 3 sidrap”. bachelor of education Degree. Tarbiyah and Teaching Science Faculty: Alauddin State Isalamic University of Makassar, 2017.
Mawaddah. “The Effect of Type Cooperrative learning model Think Pair Square on learning outcomes Geography of class x students of SMA Negeri 1 Tangerang south”. Bachelor of Education Degree . Faculty of Tarbiyah and Teacher Training: University Islam Negeri, 2020.
Mevarech, Z. R. and Kramarski, B. “Improve: A multidimensional method for teaching mathematics in heterogeneous classrooms”. American Educational Research Journal. vol. 34 No. 2 (Summer 1997): 365-394.
Millis, Barbara J. and Philip Cottell G. Cooperative Learning for Higher Education Faculty. Phoenix: Oryx Press, 1998.
Mumme, J., & Shepherd, N.. Communication in mathematics. In Implementing the K-8 curriculum and evaluation standard. Virginia: NCTM, 1993.
Rowan, Thomas E.; & Morrow, Lorna J. Implementing k-8 curriculum and evaluation standards: reading from the arithmetic teacher. Virginia: The National Council of Teachers of Mathematics, 1993.
U. Erra and G. Scanniello. “Assessing think-pair-square in distributed modeling of use case diagrams”. Department of Mathematics and computer Science: University of Basilicata, 2019.
Warno Edi. “Effectiveness of think-pair-square strategy on students’ reading comprehension”. Journal anglo-saxon. vol. 7 No. 1 (2016): 32-40.