การวิจัยเรื่องสมรรถนะด้าน ICT ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต ๑ และสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๒
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาระดับสมรรถนะด้าน ICT ผู้บริหาโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๒ และ (๒) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะด้าน ICT ผู้บริหารสถานศึกษาของกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๒ กลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน จำนวน ๑๐๑ คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า ๕ ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพื้นฐานโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า (๑) ระดับสมรรถนะผู้บริหารด้าน ICT โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะการบริหารจัดการข้อมูลโรงเรียนและการสื่อสารทางไกล รองลงมา คือ ทักษะการบูรณาการ ICT เพื่อการบริหารงานในสถานศึกษา ส่วนทักษะที่น้อยที่สุด คือ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน (๒) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ของสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาด้าน ICT ขั้นพื้นฐาน พบว่า ได้ค่าดัชนีตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล โดยดัชนีความสอดคล้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด มีค่าน้อยกว่า ๒ ดัชนี RMSEA, RMR, SRMR มีค่าน้อยกว่า .๐๕ และ GFI, AGFI มีค่ามากกว่า .๙๕ จึงสรุปได้ว่า สมรรถนะด้าน ICT ขั้นพื้นฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ ๑๘. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอร์แอนด์ดี, ๒๕๖๓.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง สถิติขั้นสูง (Advance Statistics). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. แผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ฉบับที่ ๕ (๒๕๖๕–๒๕๗๐).
สังคม ศุภรัตนกุล. ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติขั้นสูง. เอกสารประกอบการสอน: สำนักงานโครงการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, ๒๕๕๗.
สุริยา หมาดทิ้ง. “ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะด้าน ICT ของผู้บริหารโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้”. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ (มีนาคม - มิถุนายน ๒๕๕๙) : ๑๓๙ – ๑๔๐.