รูปแบบการบริหารจัดการอาคารสถานที่เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา

Main Article Content

ยุทธพงษ์ ศรีวิชัยมูล
วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
โกศล มีคุณ
บุญยัง ปลั่งกลาง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการอาคารสถานที่เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการอาคารสถานที่เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา (๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาคารสถานที่เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา และ(๓) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารจัดการอาคารสถานที่ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมายได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนกลุ่มทดลอง และบุคลากรของโรงเรียนกลุ่มควบคุมจำนวนโรงเรียนละ ๓๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบวัด และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที


          ผลการวิจัยพบว่า (๑) ผลการสัมภาษณ์สภาพการบริหารจัดการอาคารสถานที่ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันโดยใช้กระบวนการทฤษฎี POSDCoRB มีการมอบหมายหน้าที่ให้ดูแลอาคาร การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใกล้เคียงกัน ค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน เนื่องจากอยู่ในเขตพื้นที่เดียวกัน มีบริบทการบริหารจัดการด้านการประหยัดพลังงานใกล้เคียงกันและพบปัญหาที่เหมือนกันทั้งสองโรงเรียนคือการขาดความรู้ในเชิงลึกเฉพาะด้านการการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า นวัตกรรมเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าน้อยซึ่ง และมีพฤติกรรมที่ไม่ตระหนักในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า (๒) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาคารสถานที่เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรในโรงเรียน รูปแบบที่ได้คือ บีพีเอโออาร์ (BPAOR Model)อันประกอบด้วยกระบวนการบริหาร ๕ ขั้น : ขั้นที่ ๑ สร้างความตั้งใจในการปฏิบัติงาน(Build the Intention to Act) ขั้นที่ ๒ การวางแผนการดำเนินการ (Planning) ขั้นที่ ๓ การปฏิบัติการ(Acting) ขั้นที่ ๔ การสังเกตและประเมินผล(Observation and Evaluating) และขั้นที่ ๕ การสะท้อนผลและการปรับปรุงพัฒนา(Reflection and Development) และ (๓)ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารจัดการอาคารสถานที่เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรในโรงเรียนมีผลสรุปดังนี้ (๓.๑) บุคลากรในโรงเรียนกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าหลังปฏิบัติกิจกรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน (๓.๒) บุคลากรของโรงเรียนกลุ่มทดลองหลังจากได้ปฏิบัติกิจกรรมตามรูปแบบ มีพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้า สูงกว่า บุคลากรของโรงเรียนกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ และยังพบอีกว่าระยะติดตามผล (Follow up) ในด้านพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ และ (๓.๓) ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรในโรงเรียนที่มีต่อรูปแบบในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ศรีวิชัยมูล ย., ภู่วัฒนกุล ว., นิรัญทวี ศ., มีคุณ โ., และ ปลั่งกลาง บ. “รูปแบบการบริหารจัดการอาคารสถานที่เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรในโรงเรียนประถมศึกษา”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 11, ฉบับที่ 1, เมษายน 2024, น. 276-90, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/265302.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๐.

กิตติศาสตร์ แจ่มเล็ก. “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์”. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๙.

กีรติ ยศยิ่งยง. องค์กรแห่งนวัตกรรม: แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

กฤติมา มะลิวัลย์. “การประหยัดพลังงานไฟฟ้าในอาคารเรียนโดยการใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, ๒๕๕๓.

แจ่มนิดา คณานันท์. “ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่ทำงานของข้าราชการพลเรือนกระทรวงศึกษาธิการ”. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๕.

บุญดี บุญญากิจ และณัชมน พรกาญจนานันท์. ตรวจประเมินความรู้...สู่ปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, ๒๕๕๐.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ: การวิเคราะห์เปรียบเทียตัวชี้วัด. กรุงเทพมหานคร: ธนชัชการพิมพ์, ๒๕๕๕.

สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๘.