ผลของการฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริกควบคู่กับโปรแกรม เอส เอ คิวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอล

Main Article Content

พีระพงษ์ เด็ดทองหลาง
ดร.ดิศรณ์ แก้วคล้าย
ผศ.ดร.ไพญาดา สังข์ทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและเปรียบเทียบผลของการฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริก ควบคู่กับโปรแกรมการฝึก เอส เอ คิว ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักฟุตซอลชาย รุ่นอายุไม่เกิน ๑๕ ปีโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จำนวน ๓๐ คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา จากนั้นเรียงลำดับผลการทดสอบจากน้อยไปมาก และจัดเรียงเข้ากลุ่มแบบสลับฟันปลา (Balance Design) แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มละ ๑๕ คน โดยให้กลุ่มทดลองที่ ๑ เป็นกลุ่มที่ได้รับการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับโปรแกรมการฝึก เอส เอ และกลุ่มทดลองที่ ๒ เป็นกลุ่มที่ได้รับการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับโปรแกรมการฝึก เอ คิว โดยใช้เวลาในการฝึก ๘ สัปดาห์ สัปดาห์ละ ๓ วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ช่วงเวลา ๑๖.๓๐-๑๘.๐๐ น. และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว ก่อนการฝึกสัปดาห์ที่ ๑ หลังการฝึกสัปดาห์ที่ ๔ และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ ๘ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One Way ANOVA with Repeated Measures) เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวภายในกลุ่ม และหาค่าความแปรปรวนแบบสองทางชนิดวัดซ้ำ (Two Way ANOVA with Repeated Measures) เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวระหว่างกลุ่ม ทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบของ บอนเฟอโรนี (Bonferroni)


          ผลการวิจัยพบว่า (๑) กลุ่มที่ได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมพลัยโอเมตริกควบคู่กับโปรแกรม เอส เอ และกลุ่มที่ได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมพลัยโอเมตริกควบคู่กับโปรแกรม เอ คิว มีค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวเพิ่มขึ้นทุกช่วงระยะเวลาการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (๒) เมื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ ๔ และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ ๘ กลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา ไม่แตกต่างกัน (๓) เมื่อเปรียบเทียบความคล่องแคล่วว่องไวหลังการฝึกสัปดาห์ที่ ๔ และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ ๘ กลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยของความคล่องแคล่วว่องไวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

Article Details

How to Cite
เด็ดทองหลาง พ., แก้วคล้าย ด., และ สังข์ทอง ผ. “ผลของการฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริกควบคู่กับโปรแกรม เอส เอ คิวที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอล”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 10, ฉบับที่ 2, สิงหาคม 2023, น. 285-99, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/265342.
บท
บทความวิจัย

References

กิตติภูมิ บริสุทธิ์. “ผลของการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวต่อการทดสอบตารางเก้าช่องในนักกีฬา เทเบิลเทนนิส”. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๕.

จักรกฤษณ์ พิเดช. “ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรงและพลังของกล้ามเนื้อส่วนบนในนักกีฬาวอลเลย์บอลเยาวชนชาย”. ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๖๑.

เจริญ กระบวนรัตน์. เทคนิคการฝึกความเร็ว. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๓๘.

เจริญ กระบวนรัตน์. วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา (Science of Coaching). กรุงเทพมหานคร: สินธนา ก็อปปี้เซ็นเตอร์, ๒๕๕๗.

ชาญวิทย์ ผลชีวิน. คู่มือการฝึกสอนกีฬาฟุตบอล. กรุงเทพมหานคร: กองวิชาการการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๘.

ดวงพร ศรีเหรา. “ผลของการฝึกความคล่องตัวในนักกีฬาฟุตบอล”. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๙.

เทอดทูล โตคีรี. “ผลการฝึกด้วยโปรแกรมเอส เอ คิว ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลระดับอุดมศึกษา”. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ). ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๕ (พฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๖๑) : ๗๐-๘๐.

ประพันธ์ เปรมศรี และไมตรี กุลบุตร. ประวัติและกติกา การตัดสินกีฬาฟุตซอล. กรุงเทพมหานคร: คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๘.

ปราชญ์ อัคคะสาระกุล. “ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกในน้ำที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับมหาวิทยาลัย”. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๕.

ปิยะมาศ ชมภูมิ. “ผลของการฝึกรูปแบบเอส เอ คิวที่มีต่อความคล่องตัวของนักกีฬารักบี้ฟุตบอล”. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๙.

สกายสปอร์ททีม. ฟุตซอล รวมกฏ กติกา และพื้นฐานการเล่น เหมาะสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสกายบุ๊กส์ จำกัด, ๒๕๕๐.

บุญส่ง นครสวรรค์. “หลักพื้นฐานในการฝึกซ้อม”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: htp://www.bangkhunthianjoggingclub.com [๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗].