ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

ปิยชัย วรรณทอง
งามลมัย ผิวเหลือง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาระดับความเครียดในแต่ละด้าน และรูปแบบการจัดการความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก (๒) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน (๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด กับรูปแบบการจัดการความเครียด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวนทั้งสิ้น ๑๑๗ คน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของประชากร (Proportional stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD (Least Significant Difference) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .๐๕ และ .๐๑


          ผลการวิจัยพบว่า (๑) นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกมีระดับความไวต่อความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระดับที่มาของความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง  และ ระดับอาการของความเครียด โดยรวมอยู่ในระดับ สูง  (๒) นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกเลือกใช้วิธีการจัดการความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (Problem -focus coping) อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ใช้วิธีการจัดการความเครียดที่มุ่งเน้นที่อารมณ์ (Emotion focused coping) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และ ใช้วิธีการจัดการความเครียดแบบหลีกหนีปัญหา (Avoidant coping) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (๓) นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกที่มีเพศแตกต่างกัน จะมีระดับความเครียดโดยรวมในด้านที่มาของความเครียด และ อาการของความเครียด แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกที่มีระดับชั้นปีแตกต่างกัน จะมีระดับความเครียดโดยรวมในด้านที่มาของความเครียดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และ นักศึกษาที่มี และไม่มีบุคลคลในครอบครัวมีอาการเจ็บป่วยจนต้องไปพบแพทย์ แตกต่างกัน จะมีระดับความเครียดโดยรวมในด้านที่มาและอาการของความเครียดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (๔) การจัดการความเครียดแบบมุ่งเน้นที่อารมณ์ (Emotion focused coping) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับที่มาของความเครียด และ อาการของความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และ .๐๕ ตามลำดับ และ การจัดการความเครียดแบบหลีกหนีปัญหา (Avoidant coping) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียดด้านความไวต่อความเครียด ที่มาของความเครียด และ ด้านอาการของความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

Article Details

How to Cite
วรรณทอง ป., และ ผิวเหลือง ง. “ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 10, ฉบับที่ 3, ธันวาคม 2023, น. 312-24, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/267104.
บท
บทความวิจัย

References

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. คู่มือนักศึกษา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๖๑.

ธนานันต์ นุ่มแสง และ ธนิตา ตันตระรุ่งโรจน์. “การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินกลยุทธ์ในการรับมือกับความเครียด แบบสั้นฉบับภาษาไทย”. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. ปีที่ ๖๓ ฉบับที่ ๒ (เมษายน – มิถุนายน ๒๕๖๑) : ๑๘๙.

ปิยพล ปราบชมภู, ศุภารัตน์ สกุลพานิช, ชนกานต์ ดวนใหญ่, ภัทรสุดา ฟองงาม, นลินี แข็งแอ และ จิรวัฒน์ มูลศาสตร์. “ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์”. วารสารสรรพสิทธิเวชสาร. ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๒ (พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๘) : ๑๑๑.

ศิวาพร จี้ปัน. “ความเครียดและการจัดการความเครียดของเยาวชนในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน”. การค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๑.

สิรินิตย์ พรรณหาญ, บุญมี พันธุ์ไทย และกมลทิพย์ ศรีหาเศษ. “ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก ชั้นปีที่ ๔-๖”. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ ศิลปะ). ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๓ (กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑) : ๒๕๘๒-๘๖.

สุภาภัทร ทนเถื่อน. “การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย”. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๓.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. “การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง”. วารสารสวนปรุง. ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๓ (กันยายน ๒๕๔๐-เมษายน ๒๕๔๑) : ๑๒.

สุวรรณา สี่สมประสงค์. “การศึกษาความเครียดของนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นปีที่ ๔-๖”. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๒.