Book review “Wei Lang Sutta” translated by Buddhadasa Bhikkhu

Main Article Content

Suchaya Sirithanyaporn

Abstract

 หนังสือเรื่อง “สูตรเว่ยหล่าง ที่แปลโดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)  เป็นหนังสือพระพุทธศาสนานิกายเซ็น ซึ่งหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวไว้ในคำชี้แจงเกี่ยวกับการศึกษา-สูตรของเว่ยหล่างไว้สรุปว่า มีเรื่องที่จะต้องทราบกันเสียก่อนในเบื้องต้น ๒ ข้อ  


          ข้อแรก  หนังสือเล่มนี้ที่จะไม่เป็นที่เข้าใจได้สำหรับผู้อ่านหนังสือที่ยังไม่เคยศึกษาทางพุทธศาสนามาก่อนเลย  มันไม่ใช่หนังสือเล่มแรกสำหรับผู้ริเริ่มการศึกษาพุทธศาสนา  อย่างน้อย ที่สุดผู้ที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ แม้จะไม่เคยอ่านหนังสือของทางฝ่ายมหายานมาบ้างแล้ว  ก็ควรจะได้เคยศึกษาหลักแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาบ้างพอสมควรแล้ว  จนถึงกับจับใจความได้อย่างใดอย่างหนึ่งว่า   พุทธศาสนาที่ตนศึกษาแล้วนั้นมีหลักอย่างไร  หรือวิธีปฏิบัติอย่างไร จึงจะพ้นทุกข์ได้โดยเฉพาะ และอีกทางหนึ่ง สำหรับผู้ที่เคยศึกษาแต่ฝ่ายเถรวาทมาอย่างเคร่งครัด และยังแถมยึดถือทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งไว้อย่างเหนียวแน่นนั้น อาจจะมองไปเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ผิดหลักพระพุทธศาสนาเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือเป็นสิ่งที่น่าอันตรายไปอย่างยิ่ง ไปก็ได้  ทั้งนี้ เพราะเหตุที่ หลักคิด และแนวปฏิบัติ เดินกันคนละแนว  เหมือนการเดินของคนที่เดินตามทางใหญ่ที่อ้อมค้อม  กับคนที่เดินทางลัดหรือถึงกับดำดินไปผุดขึ้นในที่ที่ตนต้องการจะให้ไปถึงเสียเลย ฉันใดฉันนั้น


          ข้อที่สอง  ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสนใจ ควรทราบไว้เสียก่อนว่า หลักนิกายเซ้นและโดยเฉพาะของพระสังฆปรินายกชื่อเว่ยหล่าง   นี้ นอกจากจะเป็นวิธีการที่ลัดสั้นแล้ว ยังเป็นวิธีปฏิบัติที่อิงหลักธรรมชาติทางจิตใจของคนทั่วไป  แม้ที่ไม่รู้หนังสือ หรือไม่เข้าใจพิธีรีตองต่าง ๆ จึงเป็นเหตุให้ลัทธินี้ถูกขนาดนามว่า “ลัทธิพุทธศาสนาที่อยู่นอกพระไตรปิฎก”  หืออะไรอื่นทำนองนี้อีกมากมาย   ที่จริง ผู้ที่จะอ่านหนังสือนี้ ควรจะได้รับการชักชวนให้ลืมอะไรต่าง ๆ ที่เคยยึดถือไว้แต่ก่อนให้หมดสิ้นเสียก่อน  จึงจะเป็นการง่ายในการอ่านและเข้าใจ โดยเฉพาะก็คือ ให้ลืมพระไตรปิฎก ลืมระเบียบพิธีต่าง ๆ  ทางพุทธศาสนา ลมความคิดดิ่ง ๆ ด้านเดียว  ที่ตนเคยยึดถือ กระทั่งลืมความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย   คงเอาไว้แต่ใจล้วน ๆ ของมนาย์  ซึ่งไม่จำกัดว่าชาติใดภาษาใด  หรือถือศาสนาไหน เป็นใจซึ่งกำลังทำการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ว่า “อย่างไร  จิตของมนุษย์ทุกคนลักษณะที่เป็นสากลนี้ จักหลุดพ้นจากความบีบคั้นหุ้มห่อมพัวพันได้โดยสิ้นเชิง?”  เท่านั้น การทำเช่นนี้จักเป็นประโยชน์อย่างสูงแก่ผู้อ่าน   ในการที่จะได้ทราบอย่างชัดแจ้งถึง ความแตกต่างระหว่าง พุทธศาสนาในของเขตของคัมภีร์ กับพุทธศาสนาซึ่งอยู่เหนือคัมภีร์  พุทธศาสนาที่อิงอยู่กับพิธีรีตองต่าง ๆ  กับพุทธศาสนาที่เป็นอิสระตามธรรมชาติ และเดินตามหลักธรรมชาติ พุทธศาสนาที่ให้เชื่อก่อนทำ  กับพุทธศาสนาที่ให้ลองทำก่อนเชื่อ  พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นวรรณคดี กับพุทธศาสนาประยุกต์  และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ระหว่างพุทธศาสนาที่ใช้ได้แต่กับคนบางคน  กับพุทธศาสนาที่อาจใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้แก่บุคคลทุกคน แม้ที่ไม่รู้หนังสือขอเพียงแต่ให้มีสติปัญญาตามปรกติสามัญมนุษย์เท่านั้น  ผู้ที่ได้ทราบเช่นนี้แล้ว จะได้รับพุทธศาสนาชนิดที่ปฏับัติได้จริง ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาปฏิบัติอย่างเหลือเฟือ และลัดดิ่งไปสู่สิ่งที่จะให้เกิดความอิ่ม ความพอ  ได้โดยเร็ว  ถ้ามิฉะนั้นแล้ว  เขาก็จะเป็นตัวหนอนที่มัวแต่กัดแทะหนังสือ หรือเป็นนักก่อการทะเลาะวิวาทตามทางปรัชญา  ไปตามเดิมแต่อย่างเดียว ----

Article Details

How to Cite
Sirithanyaporn, S. “Book Review ‘Wei Lang Sutta’ Translated by Buddhadasa Bhikkhu”. Mahachula Academic Journal, vol. 11, no. 1, Apr. 2024, pp. 454-62, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/271915.
Section
Book reviews

References

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). สูตรเว่ยหล่าง. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, ๒๕๓๐.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม ๔. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

พระพุทธโฆสาจาย์. สมันปาสาทิกา ภาค ๓. แปลโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

ประวัติของท่านเว่ยหล่าง,[ ๒๗ เมษายน ๒๐๑๒], [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://shorturl.asia/kZij6 [๑๖ เมษายน ๒๕๖๗].

ประวัติของท่านเว่ยหล่าง,[ 16 กุมภาพันธ์ 2014], [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.thammasapa.com/ index.php?mo=28&id=462348 [๑๖ เมษายน ๒๕๖๗].