ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศทางวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กัณป์ธิภัศ เขียวยันต์
อัจฉรา นิยมาภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา (2) ระดับความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา (3) การบริหารงานที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศทางวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา และ (4) ปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศทางวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา จำนวน 103 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย


ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยการบริหารงานที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศทางวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ปัจจัยด้านครู และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา (2) ระดับความเป็นเลิศทางวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการจัดการศึกษาของครู และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านผลงานสถานศึกษา (3) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศทางวิชาการมีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.61 - 0.80 มีความสัมพันธ์ค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (4) ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ปัจจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน และปัจจัยด้านครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 86.5

Article Details

How to Cite
เขียวยันต์ ก., และ นิยมาภา อ. “ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศทางวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปี 11, ฉบับที่ 3, ธันวาคม 2024, น. 319-32, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/272691.
บท
บทความวิจัย