การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร ความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนข้ามชาติแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๔ ข้อ คือ (๑) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร ความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานตามปัจจัยส่วนบุคคล (๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน และ (๔) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานบริษัทเอกชนข้ามชาติแห่งหนึ่ง จำนวน ๓๑๘ คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า (๑) การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร ความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานอยู่ในระดับมาก (๒) พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอายุงานแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ (๓) การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และ (๔) ความสุขในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ญาดา พงศบริพัตร. “ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายบัญชีและการเงินในธุรกิจประกันวินาศภัย”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการธุรกิจศึกษา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๒.
ณัฐวุฒิ จันทวงษ์. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)”. วารสารรังสิตสารสนเทศ การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต. ครั้งที่ ๑๖ (สิงหาคม ๒๕๖๔) : ๑๓๕๒-๑๓๖๓.
ทิพวิมนต์ สินธนสารสมบัติ. “ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ กรณีศึกษา บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)”. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรในมนุษย์ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ๒๕๕๓.
นิกร แตงรอด. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการสังกัด หน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง”. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๖๐.
พิรงรอง โชติธนสกุล. “ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่”. การค้นคว้าอิสระวารสารศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการสื่อสารองค์กร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๙.
เพ็ญภัสสรณ์ พุ่มพฤกษ์ และ ภัสรา พงษ์สุขเวชกุล. “ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จังหวัดชลบุรี”. ใน เรื่องเต็มการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ ๑๓: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน. ๒๔๒๒-๒๔๓๑. รวบรวมจัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน กองบริหารวิชาการและนิสิต. นครปฐม : ๒๕๕๙.
รวมศิริ เมนะโพธิ. “เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุขกรณีนักศึกษาภาคพิเศษ ระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์”. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๕๐.
วนัชพร เล่าฮะ. “ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, ๒๕๖๒.
ศิริลักษณ์ รักเจียม ณัฐวัชร ประทีป ณ ถลาง และจุรีวรรณ จันพลา. “ความผูกพันต่อองค์กรและความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง”. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ (ธันวาคม ๒๕๖๔) : ๑๖-๓๑.
สมจิตร จันทร์เพ็ญ. “ความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)”. การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๕๗.
อวัชพงษ์ มีคุณ. “ความสุขในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๓ (กรกฎาคม, ๒๕๖๒) : ๘๕๖-๘๗๑.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. “The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization”. Journal of Occupational Psychology. Vol.63 No.1 (March, 1990):1-18.
Elkington, J. “The triple bottom line”. Environmental management: Readings and cases. Michael V. Russo. United States : SAGE Publications, 2008.
El-Sayed, M., Wahba, M., Ragheb, M.A. and Elgharabawy, A. “The Impact of Job Commitment on the Relationship between Organizational Culture and Sustainable Development”. Open Access Library Journal. Vol.8 (February, 2021):1-28.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การสร้างความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจ. แหล่งที่มา : https://drkriengsak.blogspot.com/2007/09/corporate-sustainability.html [5 พฤศจิกายน 2565].
Diener, E. Frequently Answered Questions about subjective well-being (Happiness and Life Satisfaction). [Online]. Available : http://labs.psychology.illinois.edu/~ediener/faq.html [5 November 2022].