การใช้สื่อดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องเบญจศีล เบญจธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) เพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องเบญจศีล เบญจธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดเขียนเขต ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 (๒) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ก่อนและหลังได้รับการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องเบญจศีล เบญจธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดเขียนเขต และ (๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดเขียนเขต ที่มีต่อสื่อดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องเบญจศีล เบญจธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดเขียนเขต ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๓o คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย สื่อดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อและด้านเนื้อหา แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยชนิดไม่เป็นอิสระจากกัน (t-dependent)
ผลการวิจัยพบว่า (๑) สื่อดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง เบญจศีล เบญจธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๙o.๘๔/๘๘.๔o (๒) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .o๕ และ (๓) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อดิจิทัลร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง เบญจศีล เบญจธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖o มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ o.๕๘
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ดังตฤณ. ผิดที่ไม่รู้. กรุงเทพมหานคร: ฮาวฟาร์, ๒๕๕๑.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์, ๒๕๔๙.
พูลศักดิ์ หอมสมบัติ. “รูปแบบและการเสริมสร้างวัฒนธรรมการดำรงชีวิต ของครอบครัวรักษาศีล ๕ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. วารสารมหาจุฬาตานีปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๕ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๔): ๔-๕.
ลัดดา ปิยะวงศ์รุ่งเรือง. คู่มือปฏิบัติธรรม คั้นออกมาจากศีล. กรุงเทพมหานคร: ฟ้าอภัย, ๒๕๔๕.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น, ๒๕๓๘.
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. HITAP นำเสนอข้อสรุปเชิงนโยบายโครงการคัดกรองพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านการคัดกรองสุขภาพประชากรในประเทศไทย และ โครงการพัฒนานโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับเด็กและเยาวชน ต่อคณะกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.hitap.net/news/16636 [๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕].
จรินทร อุ่มไกรและ ไกยสิทธิ์ อภิระติง. การพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://ph02.tci-thaijo.org › article › download [๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕].
สุพัชญา เจรีรัตน์. การเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติและประสิทธิภาพของแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อ ดิจิทัลที่มีรูปแบบต่างกัน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/FsYDx [๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕].
สุธาสินี นาคกรดและคณะ. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมและสังคม ชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๖. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/m8jVe [๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕].
อัจฉรา อมะรักษ์. แนวโน้มในยุคดิจิทัล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https://shorturl.asia/3IjW2 [๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕].