การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันองค์กร กรณีศึกษา ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

Main Article Content

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ
เวทยา ใฝ่ใจดี
ปรียากมล เอื้องอ้าย

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในองค์กร จำเป็นต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ตั้งแต่การวางรากฐาน การกำหนดเป้าหมาย การดำเนินงานในส่วนต่างๆ และการส่งต่อคุณค่าให้แก่ผู้บริโภค
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รูปแบบกรณีศึกษาของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กรกรณีศึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดกลยุทธ์ การดำเนินงานและใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาหาความถี่และวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษา พบว่า แรงจูงใจที่ทำให้องค์กรกรณีศึกษามีการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล ได้แก่ความต้องการเพิ่มความรวดเร็วในทุกกระบวนการจนถึงการส่งมอบให้ลูกค้า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
ของการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง จะได้รับประโยชน์ในด้านการตรวจสอบข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำ และมีอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การขาดความร่วมมือระหว่างฝ่าย การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และการขาดทักษะความสามารถที่จำเป็นของบุคลากร ดังนั้น องค์กรจึงควรมีการสื่อสารให้บุคลากรเข้าใจและเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นในระดับสากลได้

Article Details

How to Cite
ทรัพย์สงวนบุญ ว. ., ใฝ่ใจดี เ. ., & เอื้องอ้าย ป. . (2020). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันองค์กร กรณีศึกษา ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 14(20), 25–44. https://doi.org/10.14456/kab.2020.2
บท
Research article

References

1. กองสนเทศเศรษฐกิจ. (2559). Digital Thailand. กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ.
2. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2562). แนวโน้มอุตสาหกรรม และขนาดตลาดธุรกิจอาหาร. สืบค้นจากhttps://bsc.dip.go.th/th/category/qualitycontrol/qs-trendsfoodbusiness
3. กฤตภาส แย้มนาม. (2560). อุปสรรคและแนวทางการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัลของธุรกิจครอบครัวขนาดกลางและขนาดย่อม. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
4. จิระพงค์ เรืองกุน. (2556). การเปลี่ยนแปลงองค์การ: แนวคิด กระบวนการ และบทบาท ของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารปัญญา-ภิวัฒน์, 5(1), 194-203.
5. ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ, ศักชัย อรุณรัศมีเรือง,รุ่งฤดี รัตนวิไล และสถาพร ปิ่นเจริญ. (2560). การบริหารการเปลี่ยนแปลงกับการพัฒนาองค์การในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(2), 155-172.
6. ดวงพร ทรงวิศวะ. (2562). การจัดบริการในร้านอาหารและภัตตาคาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
7. ไตรรงค์ สวัสดิกุล และนภาภรณ์ พลนิกรกิจ. (2561).การบริหารต้นทุนแบบญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย: กรณีศึกษาการต้นทุนเป้าหมาย.วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา ฉบับพิเศษ, 8(3),248-264.
8. ทศพลพร พรพิบูลสมภพ. (2550). ระบบการวัดสมรรถนะงานบำรุงรักษา โดยประยุกต์ใช้แนวทางของการวัดผลเชิงดุลยภาพ กรณีศึกษาหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านขนส่งมวลชน.(วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
9. นฤมล กิจไพศาลรัตนา. (2550). การประยุกต์ใช้การวัดผลเชิงดุลยภาพ (Balanced scorecard)ในการบริหารจัดการงานห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (รายงานการวิจัย).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. นพพร แพทย์รัตน์. (2561). การวัดผลเชิงดุลยภาพกับการประเมินขีดความสามารถของบรรษัทภิบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิจัยมสด, 14(1), 201-217.
11. เบญจวรรณ เบญจกรณ์ และภูมิพัฒณ์ มิ่งมาลัยรักษ์.(2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยความสำเร็จการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มธุรกิจบริการ เขตภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย โดยใช้การวัดผลปฏิบัติงานแบบดุลยภาพ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(1),13-30.
12. พิธุวรรณ กิติคุณ. (2559). ภาครัฐไทยกับการก้าวเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล. เอกสารวิชาการ สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 1-16.
13. พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์, ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และปิยะ ปานผู้มีทรัพย์. (2562). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการประยุกต์ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 15(1),167-186.
14. ภคพร เปลี่ยนไพโรจน์ และมณฑล สรไกรกิติกูล.(2562). มุมมองและการปรับตัวของพนักงานในยุคบริการทางการเงินดิจิทัล. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 62-80.
15. รุ่งนภา สาเรือง และทักษญา สง่าโยธิน. (2562).แนวทางการพัฒนาบุคลากรของกรมสรรพากร
ที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศมุ่งสู่ประเทศไทย 4.0. BU Academic Review,18(1), 114-131.
16. วนาวัลย์ ดาตี้. (2554). การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร:วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 19(3), 100-107.
17. วิลาวัลย์ อันมาก. (2556). การศึกษาการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,กรุงเทพฯ.
18. วิมล อรรจนพจนีย์. (2554). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กรในภาครัฐ.วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,21(3), 710-718.
19. วงศ์ผกา กลอนสุด. (2561). การเปลี่ยนแปลงรูปแบบองค์กรด้วยกระบวนการทางดิจิทัล กรณีศึกษาธนาคารพาณิชน์แห่งหนึ่ง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
20. วรพจน์ องค์วิมลการ และสุขสวัสดี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์.(2561). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม กรณีศึกษาธุรกิจฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ. PKRU SciTechJournal, 2(2), 1-6.
21. ศิริพงษ์ ฐานมั่น. (2562). การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในศตวรรษที่ 21 เพอื่ รองรบั องค์การแห่งยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. Valaya AlongkornReview (Humanities and Science), 9(1),146-163.
22. ศิริรักษ์ บุญพร้อมรักษา. (2562). ทัศนะและบทบาทผู้นำที่แท้จริงกับการบริหารองค์การแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 12(17), 39-54.
23. ศรีบวร เอี่ยววัฒน์. (2561). แนวโน้มของ Disruptive Technology และความเป็นไปได้ของรูปแบบธุรกิจในอนาคตของเครื่องถ่ายเอกสารในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
24. ศุภโชค นิจสุนกิจ. (2561). แนวทางการนำนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไปปฏิบัตินองค์การมหาชน. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 9(2), 37-48.
25. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2560). Digital Transformation.กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการ
โทรคมนาคมแห่งชาติโทรคมนาคม. 1-46.
26. สมภพ ตั้งกาญจนาเวฬุกุล. (2552). การจัดทำดัชนีชี้วัดหลักโดยใช้เทคนิคการวัดผลเชิงดุลยภาพในโรงงานผลิต มอเตอร์. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 20(4), 103-111.
27. เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจในยุคการเปลี่ยนแปลง.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี,6(1), 1-16.
28. อนันต์ แก้วร่วมวงศ์. (2560). ภาครัฐดิจิทัลเพื่ออนาคตประเทศไทย (Digital Government). การประชุมประจำปี 2560 ของ สศช. : ขับเคลื่อนแผนฯ 12 สู่อนาคตประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
29. อมรศิริ ดิสสร. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ Balanced Scorecard ของบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(1), 59-66.
30. อรวรรณ น้อยวัฒน์. (2556). กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความรู้.สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book56_4/km.html
31. อำนาจ วัดจินดา. (2560). การบริหารการเปลี่ยนแปลง.สืบค้นจาก https://www.hrcenter.co.th/file/columns/hr_f_20170509_162857.pdf
KPMG. (2017). Destination (Un) Know. Retrieved from http://www.kpmg.com/digital
32. Associates, R. R. (2019). Digital Transformation: The Final Chapter. An Organizational Roadmap for Digitally Enable