ความสุขผ่านมุมมองของพระพุทธศาสนา

Main Article Content

เกศรา สว่างวงศ์

บทคัดย่อ

          สุขและทุกข์เป็นธรรมชาติของชีวิต มนุษย์จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาพัฒนาทัง0 สุขและทุกข์เพื่อให้มีดุลยภาพในการดำเนินชีวิต ให้ชีวิตดำเนินไปในแนวทางทีส+ อดคล้องกับธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคทีโ+ ลกเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก มีวัตถุพรั่งพร้อม มนุษย์มีความเข้าใจผิดว่าวัตถุคือสิ่งที่จะตอบสนองความต้องการทั้ง หมดของชีวิต ยิ่งมีวัตถุมาปรนเปรอมากเท่าใดก็ย่อมจะมีความสุขมากเท่านั้นมนุษย์จึงพยายามพัฒนาทางด้านวัตถุเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย แต่ในทางจิตใจหาได้พัฒนาไม่ ดังนั้นมนุษย์จึงเสีย ดุลยภาพของชีวิตไป ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของวัตถุ ทำให้มนุษย์มีใจเสาะ เปราะบาง อ่อนแอ ทุกข์ได้ง่าย สุขได้ยาก สำหรับพระพุทธศาสนานั้น มองว่าความสุขเป็นสิ่งพัฒนาได้ เพราะความสุขเมื่อเกิดขึ้น อย่างถูกต้องแล้วจะเป็นคุณสมบัติในใจของมนุษย์ โดยพระพุทธศาสนาให้เหตุผลว่าเมื่อมนุษย์เป็นสัตว์ที่สามารถพัฒนาได้ความสุขซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิตจึงเป็นสิ่งพัฒนาได้เช่นกัน เมื่อเราพัฒนาความ สุขให้ประณีตขึ้นสูงขึ้น ก็จะทำให้ชีวิตดีขึ้น คือทำให้ชีวิตของเรามีคุณธรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น และความสุขที่เราพัฒนาขึ้นนอกจากจะเกื้อกูลต่อตนเองแล้วยังทำให้เกื้อกูลต่อผู้อื่นหรือสังคมด้วย เพราะปกติถ้าการแสวงหาความสุขเพียงเพื่อตนเองโดยไม่มีการพัฒนาความสุขให้สูงขึ้นจะทำให้มีการเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อให้ตนเองได้รับความสุข แต่หากมีการพัฒนาความสุขให้สูงขึ้น ความสุขที่ได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้น ตามลำดับนั้น จะทำให้สังคมมีสันติมากขึ่้น ในการศึกษาครั้งนี้ ทางผู้ศึกษาจะได้พูดถึงคุณค่าของชีวิตที่มีทั้งสุขและทุกข์ รวมทั้ง เสนอแนะวิธีในการทำให้ชีวิตพัฒนาไปในทิศทางบวก

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). หลักการและวิธีการเทศน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: หจก. สามลดา,
2555.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย, 2543.
_____________. พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2538.
สตีเฟ่น อาร์ โควีย์. อุปนิสัยที่ 8 : จากประสิทธิผลสู่ความยMิงใหญ่. แปลจาก ปกาศิต คำเรืองโรจน์. พิมพ์ครั้งที่ 9.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี, 2553.
สุริยัญ ชูช่วย. การแสวงหาความสุขและคุณค่าของชีวิต กรณีศึกษาทัศนะกลุ่มคนต่างวัยในกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจริยศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2545.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. หลักพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้ง ที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหา
มกุฏราชวิทยาลัย, 2551.