การบริหารจัดการความอิจฉา

Main Article Content

พระครู สังวรสุตกิจ

บทคัดย่อ

         “ความอิจฉา” คือ ความรู้สึกที่ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดีกว่า ได้ลาภมากกว่า มีชื่อเสียงมากกว่าและทนไม่ได้เมื่อผิดหวัง เกิดความรู้สึกกระวนกระวาย กระสับกระส่าย กินก็ไม่เป็นสุข เห็นเรื่องน่าสนุกกลายเป็นทุกข์ไปเสียสิ้นและจุดจบมักลงเอยด้วยเรื่องน่าเวทนา ความอิจฉานี้เป็นส่วนหนึ่งของกิริยาอาการที่แสดงออกทางอารมณ์ซึ่งฝังตัวหลบซ่อนอยู่ภายในสายเลือดของมนุษย์ ความอิจฉานี้เป็นอาการนามไม่สามารถจับต้องได้ แต่สามารถรับรู้ได้โดยการแสดงออกทางพฤติกรรมของบุคคลที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอารมณ์ชนิดนี้ครอบงำ มนุษย์เราเคยชินกับพฤติกรรมของความอิจฉาทั้งจากตนเองและจากผู้อื่นจนกลายเป็นเรื่องปกติ ความอิจฉานั้นก่อให้เกิดโทษและผลเสียมากมาย ดังซึ่งปรากฏตามที่ต่างๆ จากการได้ยินได้ฟังจากสื่อชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทีวี วิทยุหรือหนังสือพิมพ์ รวมถึงการบอกเล่า


         จากพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ได้ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจแก่ผู้ศึกษาในการสืบค้นหาลักษณะอาการ สาเหตุ โทษและทางแก้ไขของอาการนามชนิดนี้ ทางผู้ศึกษาจึงได้ตั้งประเด็นศึกษาในหัวข้อ ได้แก่ คำจำกัดความของความอิจฉา ลักษณะอาการของความอิจฉา รวมถึงมูลเหตุ ผลของอาการและวิธีแก้ไข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คุณครู.คอม. นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า. [ออนไลน์]. แหล่งทีม( า:
http://www.kunkroo.com/catalog.php?idp=90 [2 พ.ค. 2556].
ประกายรุ้ง. ชวนคิดชวนทำ : 9 วิธี เอาชนะความอิจฉาริษยา. [ออนไลน์]. แหล่งทีม( า:
http://www.manager.co.th/dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9540000067754 [24 พ.ค. 2556].
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ. รถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที ( 2.
พระราชภาวนาวิสุทธิ ~ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย). โทษของความอิจฉาริษยา. [ออนไลน์]. แหล่งทีม( า: buddha.dmc.tv/
ธรรมะเพื(อประชาชน/โทษของความอิจฉาริษยา.html [23 มิ.ย. 2556].
มูลนิธิศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา. 2012 โลกจะแตกจริงหรือ?. [ออนไลน์]. แหล่งทีม( า:
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=20529 [23 ม.ย. 2556].
วิทยา นาควัชระ. หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันจันทร์ ที ( 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555.