รูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

ณรงค์ ปัดแก้ว

บทคัดย่อ

              การศึกษาวิจัยเรื่อง รูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ พัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ และ เสนอรูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลาปาง เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเจาะจง ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลาปาง จานวน 86 คน 2) ผู้สูงอายุของโรงเรียนเทศบาลตาบลเกาะคา จังหวัดลาปาง จานวน 86 คน และ 3. กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ นายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร นายกเทศมนตรีตาบลเกาะคา กลุ่มผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ผู้นาชุมชน เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบในโรงเรียนผู้สูงอายุ จานวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 192 คน
               ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลาปาง มีขั้นตอนการวางแผนรายละเอียดกิจกรรม และจัดทาโครงการพร้อมรายละเอียดต่างๆ ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนในการดาเนินงาน ด้านเจ้าหน้าที่ บุคลากร ที่รับผิดชอบภาระหน้าที่การดาเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ มีเจ้าหน้าที่ของเทศบาลคอยดูแล และวางแผนในการเรียนของผู้สูงอายุ มีการเตรียมบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ในการสอนแต่ละวิชา กาหนดไว้ในตารางสอน มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ ด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน ด้านความรู้ ความเข้าใจในหลักเกณฑ์ ขั้นตอน ระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน
                การดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ สามารถแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมได้ และผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพจิตดีขึ้น จนออกมาร่วมกิจกรรมในโรงเรียนหรือในหมู่บ้านได้ ด้านการจัดกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ด้านพระพุทธศาสนา กิจกรรมการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และกิจกรรมนันทนาการ
              2. การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลาปาง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีความต้องการให้มีการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ ต้องการให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเชิญชวนบุคคล/หน่วยงานภายนอกมาสนับสนุนในการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เห็นว่าโรงเรียนผู้สูงอายุสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุได้ถูกวิธี เกิดการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ และพัฒนาทักษะความรู้ ด้านต่างๆ ในการดารงชีวิตอย่างมีความสุข
              3. รูปแบบและกระบวนการจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง
                  1) มีการวางแผนจัดทาโครงการพร้อมรายละเอียดต่างๆ ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมและวางแผนรับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม มีการประชุมวางแผนในการดาเนินงาน กับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง
                 2) มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ด้านพระพุทธศาสนา ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านสังคมและวัฒนธรรม กิจกรรมการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ การอบรมและศึกษา ดูงาน การส่งเสริมด้านอาชีพ และการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และกิจกรรมนันทนาการ
                3) มีการดำเนินการประสานขอความร่วมมือและสนับสนุน จากหน่วยงานราชการอื่น และภาคเอกชน หรือชุมชน ตลอดถึงการติดต่อประสานงานกับวิทยากร ภาคีเครือข่ายทั้งในและ นอกพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเปิดโรงเรียน ทั้งในด้านอุปกรณ์การเรียน การมาเป็นวิทยากร และการให้ข้อเสนอแนะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. ข้อมูลสถิติผู้สูงอายุรายปี. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2560. จากเว็บไซต์ www.dop.go.th/main/knowledge_listyear.phpid,
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป. 2554
กรรณิกา เจริญลักษณ์. “บทบาทของผู้สูงอายุในฐานะผู้ให้การสนับสนุนแก่สังคม: ศึกษาเฉพาะกรณีชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร”. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2545
ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. แลใต้สี่ทศวรรษ: ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และพัฒนาการทางการเมืองในช่วง 2490-2536. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. มปป
ชาญวิทย์ ทระเทพ. สภาวะสุขภาพของคนไทย อดีต ปัจจุบัน อนาคต. สาธารณสุขและการพัฒนา. 2546. 1(3). หน้า 46–55
ทวี วัชระเกียรติศักดิ์ใ การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยการพัฒนากลุ่มอาชีพในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตาบลพลสงคราม อาเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา”. วารสารวิชการบริหารรัฐกิจ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม- มิถุนายน) (44), 2549.
ทอยท์ (Thoits, 1982). อ้างถึงใน จริยาวัตร คมพยัคฆ์. “แรงสนับสนุนทางสังคม: มโนทัศน์และการนาไปใช้” วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2531) หน้า 97
ธงชัย สันติวงษ์. องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2543
นภเกตุ สุขสมเพียร. “รูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสาหรับข้าราชการพลเรือนไทย”. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. การศึกษาผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2549
นิคม ชมพูหลง. ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การเรียนรู้. มหาสารคาม กลุ่มนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1, 2548
ปทุม พิทยาคม. การรายงานผลการเรียน. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562. จากเว็บไซต์ pathumpit.ac.th/ curriculum-52/cur-52/report.pdf
ประอรนุช เชื่อถือ. ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทครอบครัวในการส่งเสริมสุขภาพ กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549
ภูมิศักดิ์ สนามชัยสกุล และคณะ. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ ตาบลบ้านติ้ว อาเภอหล่มศักดิ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2557
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม, 2548
สมนึก ภัททิยธนี. การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์, 2552
สมบัติ กาญจนกิจ. นันทนาการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
สมพงศ์ เกษมสิน. การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2523
สมศักดิ์ คงเที่ยง. หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2545
สุเมธ ทรายแก้ว. “ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชากรในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: กรณีศึกษาโครงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดอุดรธานี”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536
สุวรรณี คงมั่น. เอกสารสัมมนาวิชาการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2546
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สานักนายกรัฐมนตรี: สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560