การทบทวนนโยบายการศึกษาภาษาอังกฤษของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การทบทวนนโยบายการศึกษาภาษาอังกฤษของไทย มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ระดับความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทย 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์
นโยบายการศึกษาของไทยด้านทักษะภาษาอังกฤษ โดยเปรียบเทียบกับกรณีตัวอย่างนโยบายการศึกษาด้าน
ทักษะภาษาอังกฤษของประเทศอื่น และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถด้าน
ทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทย ตลอดจนเสนอแนะแนวทางพัฒนา โดยเป็นการวิจัยเชิงผสม เก็บ
รวบรวมข้อมูลด้วยสมุ่ ทาแบบสอบถามจากผู้เรียนระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแห่งหน่งึ ในกรุงเทพมหานคร
จานวน 78 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องจานวน 5 คน โดย สรุปผลการศึกษา
ได้ว่าระดับทักษะภาษาอังกฤษของนิสิตนักศึกษาไทยอยู่ในระดับปานกลาง โดยทักษะการอ่าน การฟัง และ
การพูดภาษาอังกฤษนั้นโดยภาพรวมถือว่ามีพัฒนาการที่ดี แต่ระดับความสามารถในทักษะการเขียนนั้นมี
ระดับน้อยที่สุด กล่าวได้ว่ารัฐบาลได้ส่งเสริมการพัฒนาทางการศึกษาทักษะภาษาอังกฤษ แต่ขาดนโยบายใน
การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ต่างจากกรณีศึกษาประเทศอื่นซึ่งส่งเสริมการใช้ทักษะภาษาในชีวิตประจาวัน
มากกว่า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสริมจากการที่มีเวลาเรียนและฝึกฝนในชั้นเรียนน้อยเกินไป ผู้สอนไม่
มอบหมายงานที่ส่งเสริมการใช้ทักษะภาษาอังกฤษ และสภาพแวดล้อมในสังคมไทยทาให้ไม่มีโอกาสได้ใช้
ภาษาอังกฤษในชีวิตประจาวันมากนัก แนวทางการแก้ไขคือต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย รัฐบาลควร
เป็นผู้นาในการส่งเสริมนโยบายการพัฒนาภาษาอังกฤษในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรมทั้ง 4 ทักษะภาษา
โดยเฉพาะการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการใช้ภาษาอังกฤษและการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ด้วยการฝึกปฏิบัติ
จริง
Article Details
References
บวกสาม: กรณีประเทศมาเลเซีย, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2557, 16(1),
หน้า 134.
ธันนิกานต์ ชยันตราคม, ปัญหาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของนักศึกษาไทยในระดับอุดมศึกษา,
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครัง้ ที่ 4, วันที่ 7
พฤษภาคม 2557, 2557, หน้า 3-4
นวลศรี ข้ามประเทศ, ปัญหาการฟัง พูด ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนอาชีวเอกชน
ในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ), 2555,
กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มติชนออนไลน์, 2 ปี, ปฏิรูปการศึกษา’ ภายใต้รัฐบาล..’บิ๊กตู่, 2559, สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560
จากเว็บไซต์ http://www.matichon.co.th/ news/290363
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ , แนวปฏิบัติตามประกาศ
กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, 2557, สืบค้นเมื่อ
วันที่ 1 เมษายน 2560, จากเว็บไซต์ http://old.drs.ac.th/ext/tch_data/tch_02.pdf
สา นักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ, นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก
ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ), 2558, หน้า 4, สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560, จากเว็บไซต์
http://www.reo16.moe.go.th/gis/57000001/files/tbl_
datagovform/20160621085822qDvMyNn..pdf,
สา นักนโยบายและยุทธศาสตร์ สา นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, จุดเน้นเชิงนโยบาย รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ (นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ), 2560, สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษยน
2560, จากเว็บไซต์ http://www.moe.go. th/moe/upload/news20/FileUpload/47695-1757.pdf
Education First. EF English Proficiency Index – A comprehensive ranking of countries by English
Skills. 6th ed, 2016, สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560, จากเว็บไซต์ http://media2.ef.com/__/~/media/centralef com/epi/downloads/ full-reports/ v6/ef-epi-2016-
english.pdf,
Padgate, W., Beliefs and Opinions about English Writing of Students at a Thai University, PASM,
Vol. 42 April/November, 2008. pp. 31-53.
Rodsawang, S. S., Writing Problems of EFL Learners in Higher Education: A Case Study of the Far
Eastern University, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2560, 11(1), มกราคม-
มีนาคม, หน้า 268-284.