หลักสิทธิมนุษยชนที่ปรากฏในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

ณฤณีย์ ศรีสุข
จิตสุภา แกมทับทิม
สุธินี ขำรักษ์

บทคัดย่อ

                สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หมายถึง สิทธิพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ตัง้ แต่เกิดจนกระทัง่ ตาย
สามารถจาแนกได้ครอบคลุมสิทธิ 5 ประการ ได้แก่ สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิ
ทางสังคม สิทธิทางวัฒนธรรม ขอบเขตของสิทธิมนุษยชนดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มีที่มาจาก ปฏิญญาสากลว่า
ด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human Rights) ในที่นี้ขออธิบายที่มาของ
บ่อเกิดสิทธิมนุษยชน ในฐานะที่เป็นเอกสารหลักขององค์การสหประชาชาติที่ถือเป็นต้นแบบของการค้มุ ครอง
และสงิ่ เสริมสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้นาเสนอหลักการสา คัญของสิทธิมนุษยชน
ไว้ด้วย หลักการนี้ถือเป็นสระสา คัญที่ใช้อ้างอิงความเป็นสากลของสิทธิมนุษยชน ไว้ 6 หลักการ คือ 1) เป็น
สิทธิธรรมชาติ ติดตัวมนุษย์มาแต่เกิด (Natural Rights) 2) สิทธิมนุษยชนเป็นสากลและไม่สามารถถ่ายโอนให้
กันได้ (Universality and Inalienability) 3) สิทธิมนุษยชนไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ ว่าสิทธิใดมีความสาคัญ
กว่าอีกสิทธิหนึ่ง (Indivisibility) 4) ความเสมอภาคและห้ามการเลือกปฏิบัติ (Equality and Non-
Discrimination) 5) การมีส่วนร่วมและการเป็นส่วนหนึ่งของสิทธินั้น (Participation and Inclusion) และ 6)
ตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรม (Accountability and The Rule of Law)
                พระพุทธเจ้าทรงสัง่ สอนให้สรรพสัตว์ ดาเนินชีวิตเพื่อประโยชน์สุข 3 ระดับ คือ ระดับต้น (ทิฏฐธัม
มิกัตถะ) คือ ประโยชน์ปัจจุบัน ระดับกลาง (สัมปรายิกัตถะ) คือ ประโยชน์เบื้องหน้า และ ระดับสูง (ปรมัตถะ)
คือ ประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง การปฏิบัติฝึกฝนพัฒนาตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ 3 อย่าง ได้แก่ 1) อัตตัตถประโยชน์ ประโยชน์ส่วนตน 2) ปรัตถประโยชน์ ประโยชน์เพื่อ
ผู้อื่น และ 3) อุภยัตถประโยชน์ ประโยชน์ร่วมกันทัง้ สองฝ่าย
               หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของชนหมู่มาก โดย
ไม่มีประมาณ ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว ชนชั้นวรรณะ ฐานะทางสังคม ภาษาและศาสนา นอกจากนี้
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาทถือว่าเป็ นหลักธรรมที่ลึกซึ้ง เราสามารถนาหลักธรรมทาง
พระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับหลักสิทธิมนุษยชนได้ เนื่องจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาส่งเสริม
สัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยงิ่ การปฏิบัติตามหลักโอวาทปาติโมกซึ่งเป็น
หลักธรรมอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ทาให้มนุษย์รู้จักละจากความชัว่ ทัง้ ปวง ทากุศลให้ถึงพร้อม และ
ทา จิตใจให้บริสุทธิ ์ เมื่อมนุษย์ปฏิบัติตามหลักธรรมดังกล่าว ย่อมทา ให้มนุษย์มีความเมตตาต่อกัน เห็นอกเห็น
ใจซึ่งกันและกัน มีสัมมาทิฐิความเห็นชอบ เป็นผู้มีศีล สมาธิ และปัญญา ปฏิบัติต่อกันโดยเคารพศักดิศ์ รีของ
ความเป็นมนุษย์ ย่อมทาให้สังคมเต็มไปด้วยความสุข สงบ และก่อให้เกิดความสุข ความมัน่ คงปลอดภัยต่อ
ชีวิต ทรัพย์สิน นอกจากน้ยี ังก่อให้เกิดสันติภาพแก่มวลมนุษยชาติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ขุ.จู. (ไทย) 30/673/261-262.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ประยุตฺโต). การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย, 2535
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย, 2536
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนามมีบุ๊คส์
พับลิเคชัน่ ส์ จา กัด, 2546
ศราวุฒิ ประทุมราช. สิทธิมนุษยชน : รวบรวมสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่สา คัญ.
กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการประสานงานองค์กรสิทธิมนุษยชน (กปส.) และมูลนิธิฟรีดริด เอ
แบร์ท (FES), 2544
เสน่ห์ จามริก. พุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: สา นักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ, 2545
แสง จันทร์งาม. ประทีบธรรม. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ธีระการพิมพ์, 2544
อลงกรณ์ พลบุตร. เอกสารวิชาการส่วนบุคคล หัวข้อ หลักสิทธิมนุษยชน เรื่อง เหลียวหลังแลหน้าสิทธิ
มนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: สานักงานศาลรัฐธรรมนูญ)
อุดมศักดิ ์ สินธิพงษ์. สิทธิมนุษยชน. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สา นักพิมพ์วิญญูชน จา กัด, 2550