การรับรู้ของเยาวชนที่มีต่อโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรณีศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

อิทธิเทพ หลีนวรัตน์

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่อง “การรับรู้ของเยาวชนที่มีต่อโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรณีศึกษาอาเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างทางลักษณะประชากรศาสตร์ของเยาวชนที่มีผลต่อการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเพื่อศึกษาการรับรู้ของเยาวชนที่มีต่อโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประชากร คือ เยาวชนในอาเภอพระนครศรีอยุธยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จานวน 26,963 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที และค่าความแปรปรวนทางเดียว ใช้นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ของเยาวชนเกี่ยวกับโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับปานกลางในทุกด้าน แต่พบว่าโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทาให้รู้จักยี่ห้อของสินค้าเพิ่มมากขึ้น อยู่ในระดับมาก 2) ลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันของเยาวชนมีผลต่อการรับรู้โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่แตกต่างกันดังนี้ 2.1) เพศ มีผลกับ 4 ตัวแปร คือ ชื่นชอบสินค้า, อยากซื้อสินค้า, ประทับใจโฆษณา และอยากทดลองดื่ม 2.2) อายุ มีผลกับ 7 ตัวแปร คือ รู้จักสินค้าเพิ่มมากขึ้น, ชื่นชอบสินค้า, อยากซื้อสินค้า, ประทับใจโฆษณา, ช่วยเหลือสังคม, เตือนภัยจากการดื่มสุรา และอยากทดลองดื่ม 2.3) ระดับการศึกษา มีผลกับ 9 ตัวแปร คือรู้จักสินค้าเพิ่มขึ้น, ชื่นชอบสินค้า, อยากซื้อสินค้า, ประทับใจโฆษณา,ความมีระดับหรูหรา, ความตื่นเต้นท้าทาย, การสนับสนุนกีฬาหรือคอนเสิร์ต, ช่วยเหลือสังคม และไม่ได้กระตุ้นให้เกิดปัญหาสังคม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ไทยเจริญการพิมพ์, 2546.
ปรมะ สตะเวทิน. หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจากัด ภาพการพิมพ์, 2546.
ราชาวดี เอี่ยมศิลป์. อิทธิพลของภาพยนตร์โฆษราเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคาแหง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2550.
วิเชียร เกตุสิงห์.การวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์และทาปกเจริญผล, 2543.
ศรีรัช ลาภใหญ่. การศึกษางานโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อความรู้สึกอยากทดลองดื่มและการจดจาตราสินค้าในกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่น.ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.), 2550.
ศรีรัช ลาภใหญ่. การศึกษาการรับรู้ ทัศนคติและความต้องการมีส่วนร่วมของเยาวชนต่อการยับยั้งปัญหาและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในครอบครัว. สานักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.), สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2552.
ศรีรัช ลอยสมุทร. การศึกษาปัญหาและผลกระทบของโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ต่อกลุ่มผู้บริโภค เยาวชนและวัยรุ่น. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2555.
สุชา จันทร์เอม. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช จากัด, 2544.
สารนิเทศจากเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
ไทยรัฐออนไลน์. “งานกาชาดอยุธยาทางามหน้า ขายเหล้าในพื้นที่มรดกโลก,” ,23 กันยายน 2556.
ธีระภัทร เอกผาชัยสวัสดิ์. “ประชากรศึกษา,” , 20 กันยายน 2557. ประยุทธ์ ฉัตรแสงอุทัย. สสว. “สานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์,” , 25 กันยายน 2556.