สิทธิของวัดในทรัพย์มรดกของพระภิกษุตามกฎหมาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยมีวัดมากกว่า 40,000 วัด แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า นาไปสู่การบริจาคทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาล แต่ทว่าหลายครั้งที่ความศรัทธาถูกนาไปใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากคนบางกลุ่ม ทาให้เกิดข้อสงสัยว่า บรรดาทรัพย์สินทั้งหลายที่พระภิกษุได้รับมาจากการบริจาคในขณะครองสมณเพศนั้น มีสถานะในทางกฎหมายอย่างไร รวมถึงสิทธิของวัดในการรับมรดกของพระภิกษุด้วย
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อกฎหมายที่มีอยู่ และค้นหาช่องว่างกฎหมายที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อสังคม โดยวิเคราะห์จากบทบัญญัติภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทาให้พบข้อสรุปดังนี้
1. สิทธิตามกฎหมายของพระภิกษุในทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคนั้น ถือว่าเป็นการได้มาจากการให้โดยสเน่หาย่อมตกเป็นของวัดหรือของพระภิกษุก็ได้ ตามแต่เจตนาของผู้ให้
2. สิทธิในการได้รับมรดกของพระภิกษุตามกฎหมาย กฎหมายจากัดสิทธิว่า หากพระภิกษุจะเรียกร้องทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมแล้ว จะต้องสึกจากสมณเพศเสียก่อน ซึ่งเหมาะสมกับคุณธรรมทางกฎหมาย
3. การตกทอดมรดกของพระภิกษุตามกฎหมาย ให้แยกพิจารณาว่า ทรัพย์มรดกนั้นได้มาเมื่อใด หากทรัพย์นั้นได้มาก่อนอุปสมบทย่อมตกได้แก่ ทายาทโดยธรรม แต่หากได้มาหลังจากอุปสมบทย่อมตกได้แก่ วัดที่เป็นภูมิลาเนาของพระภิกษุ เว้นแต่พระภิกษุจะได้จาหน่ายไปด้วยวิธีการอื่น ข้อยกเว้นของกฎหมายนี้เอง จึงอาจไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของผู้บริจาคที่ต้องการให้ทรัพย์สินบริจาคแด่พระภิกษุตกได้แก่วัด อันเป็นช่องว่างของกฎหมายที่จะทาให้พระภิกษุผู้ประพฤติผิดแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากวัดได้ กฎหมายมรดกของพระภิกษุจึงสมควรมีการแก้ไขปรับปรุงต่อไป ให้ทรัพย์มรดกของพระภิกษุซึ่งได้มาด้วยการบริจาคนั้น ยังคงตกได้แก่วัด แม้ว่าพระภิกษุจะทาพินัยกรรมมอบไว้ให้แก่บุคคลอื่นแล้วก็ตาม หลักการนี้ ย่อมถูกต้องตามเจตนารมณ์ของผู้บริจาคมากกว่า และจะทาให้ลดช่องทางแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากวัดได้ อันจะนาไปสู่การสืบทอดพระพุทธศาสนาได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
Article Details
References
มานิตย์ จุมปา. การเป็นเจ้าของทรัพย์สินของพระภิกษุ. คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. www.panyathai.or.th. 1 มีนาคม 2560.
http://www.tcijthai.com/news/2016/08/watch/6381.1 มีนาคม 2560.