ไทลื้อ: มุมมองวัฒนธรรมที่เหลื่อมซ้อนของชาวผู้ไทในอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาศิลปะและวัฒนธรรมในอดีตมักจะให้ความสาคัญทางด้านงานทัศนศิลป์ที่จับต้องได้ สัมผัสความงามด้วยความหมายและจินตนาการของผู้สร้างงานศิลปะอยู่บนพื้นฐานแนวคิดการตอบสนองความต้องการของสังคม ศิลปะและวัฒนธรรมในปัจจุบันนอกจากที่จะให้ความสาคัญกับศิลปวัตถุแล้วยังให้ความสาคัญในประเด็นอื่นๆ เช่น กลุ่มชนชาติ ชนเผ่า พื้นที่อาณาเขต การย้ายถิ่นฐานของกลุ่มคน ฯลฯ ทาให้มองเห็นความชัดเจนของผลงานศิลปะและวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่มีความคล้ายคลึงกัน การปรับสภาพของกลุ่มคนให้มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมดั้งเดิมและสามารถรักษาโครงสร้างทางวัฒนธรรมของตนเองบนพื้นฐานของศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อเหนือธรรมชาติ สงคราม การแผ่ขยายอาณาจักรจากกลุ่มที่มีอานาจสู่กลุ่มที่อ่อนแอกว่า ทาให้เกิดการผสมผสานงานศิลปะและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม เช่น เครื่องแต่งกาย อาหาร ภาษา ยังสามารถบ่งบอกถึงความเป็นกลุ่มชนและนามาเป็นหลักฐานทางด้านวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน
ไทลื้อ เป็นชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท อพยพเข้ามาอยู่ในเขตสิบสองปันนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะนับถือผีและวิญญาณมากกว่าพิธีกรรมทางศาสนาพุทธจะให้ความสาคัญกับการบูชาผีเรือนและผีบรรพบุรุษ ในเมืองสิบสองปันนามีเมืองสาคัญ ๆ เช่น เมืองลวง เมืองแล้ เมืองฮาย เมืองสูง เมืองสุน เมืองปาน เมืองเชียงลอ เมืองวัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้าล้านช้าง เป็นเมืองกลุ่มเดียวกับเมืองอาง เมืองขาง ในอดีตเมืองวังขึ้นกับเจ้าสี่ตาจนเมื่อเจ้าเมืองเชียงรุ่งยกทัพเข้าตีเมืองได้จึงตกมาเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงรุ่ง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีความเชื่อมโยงกับชาวผู้ไทบ้านภู จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป และเมืองอื่น ๆ ที่มีวัฒนธรรมการดารงชีวิตที่คล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ยังเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มขนทั้งสองที่แฝงอยู่ในงานศิลปกรรมและนามาเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของกลุ่มชนได้อย่างชัดเจน
Article Details
References
จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคาว่า สยาม ไทย ลาว และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. กรุงเทพมหานคร: โครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. 2519.
ทรงคุณ จันทรจร. ผู้แปล. ประวัติศาสตร์ลาว. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์. 2551.
เต็ม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2513.
โพธิ์ แซมลาเจียก. ตานานไทพวน. กรุงเทพมหานคร: สามัคคีสาร. 2537.