การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพีชคณิตเชิงเส้นเรื่องการหาผลเฉลี่ยของระบบสมการเชิงเส้นโดยใช้โปรแกรม SCILAB กับวิธีการสอนแบบปกติ

Main Article Content

วรรณธิดา ยลวิลาศ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพีชคณิตเชิงเส้นเรื่องการหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นโดยใช้โปรแกรม SCILAB กับวิธีการสอนแบบปกติ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อวิธีการสอนวิชาพีชคณิตเชิงเส้นเรื่องการหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้นโดยใช้โปรแกรม SCILAB กับวิธีการสอนแบบปกติกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องซึ่งได้จากการสุ่มวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลาก เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมจำนวน 24 คน กลุ่ม ทดลองจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โปรแกรม SCILAB แผนการเรียนรู้ปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการสอนด้วยโปรแกรม SCILAB สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (analysis of covariance) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา โดยใช้คะแนนสอบก่อนเรียนเป็นตัวแปรร่วม (covariate variable)


             ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สอนด้วยโปรแกรม SCILAB สูงกว่าวิธีสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการสอนด้วยโปรแกรม SCILAB มีความพึงพอใจในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ เสือแพรและมีชัย โลหะการ. การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้ GUISCILABในการศึกษาการแปลงฟูริเยร์แบบไม่ต่อเนื่อง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี.ภาควิชาครุศาสตร์ ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2558.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุรีวิยาสาสน์, 2545.
ประยงค์ นาโค. ผลของการสอน 3 แบบที่ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความเป็นผู้นำและ
ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 1. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2527.
สิริพร ทิพย์คง. หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.). 2545.
สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. การพัฒนาทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร, 2538
สุภาเพ็ญ จริยะเศรษฐ์. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. กาญจนบุรี: สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี, 2542.
สุรางค์ เจริญสุข. แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ
มัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ, 2541.
ศิริกาญจน์ จันทร์เรือง. การเพิมประสิทธิภาพการเรียนการสอน.เชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2543.