อริยบุคคล

Main Article Content

โสภณ จาเลิศ

บทคัดย่อ

อริยบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ประเสริฐ มีอยู่ 4 ระดับ ได้แก่ พะโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ตามลำดับ โดยไม่ระบุถึงความเป็นหญิง ความเป็นชาย หรือความเป็นบรรพชิต หรือเป็นฆราวาส แต่หมายถึง สภาพจิตหรือคุณธรรมที่อยู่ในระดับต่าง ๆ กัน คือการละสังโยชน์ หรือละกิเลสที่ผูกมัดใจให้เป็นทุกข์ มี 10 อย่างตามลำดับ คือ พระโสดาบัน ละสังโยชน์สามอย่างข้างต้นได้คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพต ปรามาส พระสกิทาคามี ละสังโยชน์สามอย่างข้างต้นได้เหมือนกับพระโสดาบัน แล้ว ยังทำกามราคะ และปฏิฆะน้อยกว่าพระโสดาบัน พระอนาคามี ละสังโยชน์ห้าอย่างเบื้องต้นได้เด็ดขาด ตั้งแต่สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต ปรามาส กามราคะ และปฏิฆะ พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 อย่าง คือ 1. สักกายทิฏฐิ 2. วิจิกิจฉา 3. สีลัพพตปรามาส 4. กามราคะ 5. ปฏิฆะ 6.รูปราคะ 7. อรูปราคะ 8. มานะ 9. อุทธัจจะ 10. อวิชชา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระคัมภีรญาณ อภิปุญโญ. สวนโมกขพลาราม. วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบันลือธรรม. 2551.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม ช่วงที่
1/ยุติ). พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา. 2556.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2545. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทนานมีบคุ๊ ส์พับลิเคชั้นส์ จำกัด. 2556.
วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม). บททำวัตรสวดมนต์ ประจำศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพะเกียรติ วัดร่ำเปิง (ปโปทาราม).พิมพ์ครั้งที่ 8. เชียงใหม่: หจก. โรงพิมพ์ช้างเผือก. 2556.
บ้านสุขแท้จริง. ศีล 5 จริยธรรมพืนX ฐานสำหรับการเป็นมนุษย์ [ออนไลน์]. แหล่งทีมา:http://61.19.
252.241/sooktaejing/index.php?option=com_content&view=article&id=161
:dhamma-5-rules&catid=46:dhamma-shower&Itemid=67 [21 ก.ค. 2558].