ความสุข พลังแห่งคุณค่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสุขอันประกอบด้วยแรงจูงใจขั้นพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ ซึ่งเป็นทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่เกื้อกูลให้เกิดแรงผลัดดันของการกระทำ ในทางจิตวิทยากล่าวไว้ว่าปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ปัจจัยที่เกิดจากการเรียนรู้ การรับรู้ ที่ประกอบด้วยการตีความจากสิ่งเร้าร่วมกับความต้องการพื้นฐานของร่างกาย เป็นปัจจัยที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของความแตกต่างระหว่างบุคคล มาสโลว์ (Maslow) กล่าวว่า ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นสัญชาตญาณที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิดมีอยู่ 5 ขั้นตอน เริ่มจากต่ำสุดไปสูงสุด โดยที่มนุษย์จำเป็นต้องได้รับการตอบสนองตามความต้องการขั้นต่ำสุดจนเป็นที่พอใจก่อน ตามด้วยความต้องการขั้นสูงสุข ความต้องการของมนุษย์แต่ละคนจะแตกต่างกันไป และพฤติกรรมหนึ่งก็สามารถตอบสนองความต้องการหลายๆอย่างได้ในเวลาเดียวกัน
การสร้างความสุขในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นใน เรื่องของ เทคโนโลยี การสื่อสาร สภาพเศรษฐกิจ และ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่มีการส่งถ่ายข้อมูลถึงกันและกันเร็วขึ้น และจากการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้เองจึงเป็นเสมือน พลังผลักดัน ให้คนแต่ละคน ต่างต้องตระหนักถึง ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง อันทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง สร้างคุณภาพชีวิตของตนเองด้วยการสร้างความสุขอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอเพื่อให้ตนมีความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ผู้ที่พัฒนาตนเองย่อมเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ในหน้าที่การงาน ได้รับความก้าวหน้าในสายอาชีพ ได้รับคำยกย่อง สรรเสริญมากกว่า ผู้ที่ทำงานอยู่ไปวันๆ โดยไม่สนใจที่จะพัฒนา ความรู้และความสามารถของตนเอง ชอบทำงาน ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้างานเท่านั้น
ดังนั้นพลังแห่งคุณค่า ของความสุข เป็นบ่อเกิดของการพัฒนาตนด้วยการสร้างความสุขอย่างความมั่นคงและยั่งยืน โดยคนที่มีความสุขในชีวิตไม่จำเป็นต้องคนเก่ง คนฉลาด หรือแม้แต่มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย แต่หากเป็นผู้ที่สามารถปรับตัว เรียนรู้ กับการเปลี่ยนแปลงและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข คือสิ่งที่นับได้ว่าประสบความสำเร็จที่สุดของชีวิตอย่างแท้จริง
Article Details
References
ฉบับที 5 9959 (16 มิถุนายน พ.ศ. 2548)
กระปุกดอทคอม. “10 พฤติกรรมวายร้าย ทำลายความสุขโดยไม่รู้ตัว”.
คิดดู, “15 สง5ิ ทีต5 ้องเลิก ถ้าอยากมี ความสุข โดยเฉพาะอย่างยง5ิ ข้อ”.
คัคนางค์ มณีศรี. “ความสุขคืออะไร.”
เชษฐพล มานิตย. “ความสุขคืออะไร,”
บ้านจอมยุทธ์. “ทฤษฎีลำดับขัน- ความต้องการพืน- ฐานของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of needs
Theory),”
ประสาน หอมพูลและคณะ. จิตวิทยาเกี4ยวกับพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิศิษฐ์การพิมพ์,
2540.
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต). “ความสุข คืออะไร ความหมายของความสุข”.
พระไพศาล วิสาโล. “ความสุขทีถ5 ูกมองข้าม”.
20 กรกฎาคม 2556.
รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. “ความสุขบนความพอเพียง: ความมัน5 คงในบัน- ปลายชีวิต”.
สวทช. “อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย”.
สุภาพร เทพยสุวรรณ. “13 วิธีสร้างสุขให้ทุกวันของชีวิต”.
30 เมษายน 2550.