จริยธรรม ของนักการเมืองในระบบการเมืองไทยปัจจุบัน

Main Article Content

ณัฐดนัย แก้วโพนงาม

บทคัดย่อ

คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง นับเป็นปัญหาหลักประการหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริบทของการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองไทยในปัจจุบัน ส่งผลให้นักธุรกิจสามารถเข้าสู่การแสดงบทบาทนักการเมืองมากขึ้น และนำไปสู่การเกิดสภาพปัญหาในลักษณะการอาศัยตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองเพื่อทางธุรกิจของครอบครัวและวงศ์ตระกูล เนื่องจากการบริหารประเทศนั้น ต้องยึดหลักผลประโยชน์สาธารณะ มากกว่าผลประโยชน์ส่วนบุคคล เพราะฉะนั้น หากนักการเมืองขาดซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองแล้ว ก็มักจะก่อปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในรูปแบต่างๆ อาทิ เช่น การมิได้รับความเป็นธรรมของกลุ่มธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายเดียวกับรัฐบาล การกำหนดนโยบายต่างๆ อาจเอื้อต่อกลุ่มทุนรัฐบาลด้วย และทำให้การออกนโยบายต่างๆ ได้ประโยชน์กับคนเพียงบางกลุ่ม


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

หนังสือทั่วไป ธานินทร์ กรัยวิเชียร. จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พิ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง , 2551.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. นโยบายสาธารณะ แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม, 2544.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขานุการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. รวมมาตราฐานสากลว่าด้วยการต่อต้นการทุจริต. กรุงเทพมหานคร, 2552.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันแปราบปรามการทุจริตแห่งชาสติ. บทสรุปยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. กรุงเทพมหานคร, 2549.
สำนักงานนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. รายงานการเดินทางไปประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร.
สง จันทร์งาม. 80 ปี เชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: หจก. ธนุชพริ้นติ้ง, 2550.