การศึกษาความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการลดความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อประเมินความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อยู่ในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน ผู้สูงอายุที่อยู่ในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 367 คน วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยผู้ป่วยทางสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งผู้ป่วยโรคจิต โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า สถานการณ์ความเครียด ที่แสดงจากการตอบแบบประเมินภาวะความเครียด สาเหตุของความเครียดของผู้สูงอายุส่วนมากเกิดจากปัญหาด้านเศรษฐกิจและภาระหนี้สิน พบว่าผู้สูงอายุบางคนต้องหารายได้เลี้ยงตนเองและเลี้ยงลูกหลานเนื่องจากเห็นลูกหลานยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ บางรายเข้าไปเกี่ยวข้องกับหนี้นอกระบบ ทำให้เกิดความรู้สึกเครียด เกี่ยวกับปัญหาหนี้สินไปพร้อมกับลูกหลาน 2. ผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมาส่วนใหญ่ มีความเครียดในระดับต่ำ จำนวน 250 คน คิดเป็นร้อยละ 51.25 รองลงมามีความเครียดในระดับปานกลาง จำนวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 43.50 และอันดับสุดท้าย มีความเครียดในระดับสูง จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 5.25 และผู้สูงอายุในจังหวัดชัยภูมิส่วนใหญ่ มีความเครียดในระดับต่ำ จำนวน 185 คน คิดเป็นร้อยละ 50.41 รองลงมามีความเครียดในระดับปานกลาง จำนวน 167 คน คิดเป็นร้อยละ 45.50 และอันดับสุดท้าย มีความเครียดในระดับสูง จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 4.09 3. แนวทางการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ ได้รูปแบบการจัดการลดความเครียดผู้สูงอายุแบ่งตามลักษณะการประยุกต์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิมี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการให้ผู้สูงอายุมีความสุขเพื่อลดความเครียด 2) รูปแบบการใช้หลักธรรม การปฏิบัติธรรมเพื่อลดความเครียด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Assantachai, P. (2011). Situation of elderly health problems. Bangkok: Department of Preventive and Social Medicine Mahidol University.
Bunyamalik, P. (2015). Korat Psychiatric Hospital Opened a Thai traditional medicine center. [Online].Source: http://www.khaokorat.com/index.php?option September 22, 2015.
Charoensak, S. (2015). Elderly Mental Health Care. [online]. Source: http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news3_9.php?m=4 August 11, 2015.
Department of Emergency Medicine. (2015). Thai people are stressed and found to be sick. manic [Online]. Source: http://www.thaihealth.or.th/Content/14259 September 22, 2015.
Tantipalachiva, K. (2013). Self-Care Elderly Health. Nonthaburi: Gold Power Printing
Triamchaisri, S. (2011). SKT Meditation Therapy Self-Cure Various Diseases. Bangkok: Intellectual.