ความเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการบนพื้นที่สูงของชาวกะเหรี่ยงในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นผู้ประกอบการของเกษตรชาวกะเหรี่ยงในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ผ่านกรอบแนวคิดความเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการ งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม 2562 – มกราคม 2564 ที่ชุมชนบ้านแม่ต๋อม (บ้านแม่ต๋อม หมู่ 5 และบ้านแม่ต๋อมบน หมู่ 13) อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่ออธิบายความเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการของเกษตรกรชาวกะเหรี่ยงในชุมชนบ้านแม่ต๋อม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างชาวกะเหรี่ยงจำนวน 111 คน ที่มีอายุระหว่าง 25 – 60 ปี และเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเกษตรกรชาวกะเหรี่ยงที่เป็นผู้นำชุมชนจำนวน 5 คน
ผลการวิจัยพบว่า ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมจากหน่วยงานใด ๆ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 54 ครัวเรือน ใช้สมาร์ทโฟนและสามารถเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตได้ กลุ่มตัวอย่างมักจะใช้เวลาในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไปกับการติดต่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง และไม่ได้ให้ความสำคัญกับการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลการเกษตร ราคาพืชผล นวัตกรรมการเกษตร และข้อมูลด้านการลงทุน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับของทักษะและวิธีคิดการเป็นผู้ประกอบการที่ค่อนข้างต่ำ (เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานนอกไร่นา การค้นหาข้อมูลเพื่อพัฒนาตนเอง การวางแผนเพื่อประกันความเสี่ยง)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Agricultural News Table. (2017). Department of Agriculture Extension Develops Young Farmers to Entrepreneur 4.0 [In Thai]. Retrieved February 23, 2019, from https://www.komchadluek.net/news/agricultural/260807
Atawongsa, S. (2013). The Effects of Entrepreneurial Orientation and Enterprise Characteristics Toward Thai SME’s Growth [In Thai] (Doctoral Dissertation). Dhurakij Pundit University. Bangkok.
Community Development Department. (2020). Basic Minimum Needs (BMN) 2019 [In Thai]. Retrieved December 14, 2021, from https://ebmn.cdd.go.th/#/jpt/report
Department of Agriculture Extension. (2020). Recruitment and Selection Farmers to Young Smart Farmer Project in 2020 [In Thai]. Retrieved July 14, 2020, from https://www.nfc-skn.org/ysf63
Kahan, D. (2012). Entrepreneurship in Farming. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations.
Leepreecha, P. (2011). Dynamics of Highland Economics: Trading and Ethnic Identity [In Thai]. Chiang Mai: Chiang Mai University.
McElwee, G. (2008). A Taxonomy of Entrepreneurial Farmer. International Journal of Entrepreneurship and Small Business, 3(3), 465 – 478.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017 – 2021) [In Thai]. Office of the Prime Minister.
Public Relations. (2011). OAE. Shows Smart Farmer’64, Develops Farmers’ Potentials, and Creates Career’s Stability [In Thai]. Retrieved October 25, 2021, from https://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าว สศก./37541/TH-TH
Public Relations Team. (2018). Department of Agriculture Extension is Surprised with Thailand 4.0. New Generations Become Young Smart Farmers [In Thai]. Retrieved 25, 2019, from https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_1616352
Rugchat, J (2018). Transformation to “Entrepreneur” of Lua Highlanders: A Case Study of Lua Ban Na Fon in Hot District, Chiang Mai Province (Doctoral dissertation). Chiang Mai: Chiang Mai University.
Rugchat, J. (2019a). Land Contesting and New Forms of Primitive Accumulation of the Lua Highlanders. Thammasat Review, 22(2), 65 – 81.
Rugchat, J. (2019b). Karen New Generations and their Return to Do Farming in a Highland village of Chiang Mai [In Thai]. Journal of Liberal Arts Maejo University, 7(1), 112 – 137.
Swedberg, R. (2000). The Social Science View of Entrepreneurship: Introduction and Practical Application. In Swedberg Richard (Ed.). Entrepreneurship: The Social Science View. New York: Oxford University Press.
Weber, M. (1958). The Protestant Ethnic and the