กลไกการตลาดขมิ้นพันธุ์แดงสยามกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ศึกษากลไกการตลาดของขมิ้นพันธุ์แดงสยามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อตลาดขมิ้นพันธุ์แดงสยามกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ 2) เพื่อนำเสนอกลไกการตลาดของขมิ้นพันธุ์แดงสยามกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างประกอบจำนวน 17 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ โดยการนำเสนอข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การใช้สถิติเชิงพรรณนาและอธิบายเป็นความเรียงเพื่อเสนอกลไกการตลาดของขมิ้นพันธุ์แดงสยามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีความเหมาะสม
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดขมิ้นพันธุ์แดงสยามด้วยความเห็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ความคิดเห็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่มีความเห็นว่าสมาชิกกลุ่มจะต้องมีส่วนร่วมในการแบ่งความรับผิดชอบ ช่วยกันคัดสรรขมิ้นพันธุ์แดงสยามที่มีจำนวนสารเคอร์คูมินอยด์ในปริมาณที่สูง ช่วยกันป้องกันมิให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันด้วยการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ และการจำหน่ายผลผลิตให้แก่บริษัท แชมป์ ออฟ แชมป์ อินโนเวชั่นสมุนไพรไทย องค์การเภสัชกรรม โรงพยาบาล และการสร้างช่องทางการจำหน่ายด้วยการขายและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายเป็นเครื่องอุปโภค บริโภคในครัวเรือน 2) ความเห็นกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่จะต้องให้การช่วยเหลือด้านต่าง ๆ การกำหนดนโยบายของภาครัฐและปกครองท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และผลักดันให้เกิดภาคีในการจำหน่ายสินค้า ลดช่องว่างทางการตลาดที่ผู้ขายสามารถขายตรงแก่ผู้บริโภคทั้งในระบบออนไลน์และในพื้นที่ และต้องปลูกฝังจิตสำนึกชุมชนให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่อแปรรูปขมิ้นพันธุ์แดงสยามและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยในการก้าวเข้าไปสู่ตลาดในประเทศและต่างประเทศได้อย่างภาคภูมิใจ
กลไกการตลาดขมิ้นพันธุ์แดงสยามกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สามารถจำแนกตามระบบการตลาดแบบ 4P ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์ จะต้องเกิดจากกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกันเพื่อพัฒนาผลผลิตเชิงสร้างสรรค์มีคุณภาพและสร้างมูลค่าให้ดีที่สุด 2) ราคา การรวมตัวของวิสาหกิจชุมชนสามารถมีอำนาจต่อรองราคาและป้องกันมิให้เกิดการโกงราคาสินค้า จากการแปรรูปสินค้าและขายตรงแก่ผู้บริโภค 3) ช่องทาง การขายตรงแก่ผู้บริโภค ขายผ่านกลุ่มพ่อค้า การนำสินค้าแปรรูปขายออนไลน์และในพื้นที่ และการขายผ่านกลุ่มภาคี 4) การส่งเสริม ภาครัฐจะต้องส่งเสริมชุมชนในการสร้างรายได้ เป็นชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็งและสามัคคี และพัฒนาต่อยอดอาชีพในรูปแบบ SME บนทุนทางสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร และจะเป็นการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนสู่ตลาดสากลได้อย่างแท้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Good news. (2021). Driving "Sa Kaeo, Herb City, Organic Agriculture" with participation. Retrieved November 17, 2021, From https://www.77kaoded.com/news/thanapat/2064578.
Athipanan, S. et al. (2007). Strategies for Developing Community Enterprises for Self-Reliance. Bangkok: Department of Agricultural Extension.
Bangkok Business. (2020). Herbal Market "Main Economy of Thailand. Retrieved November 17, 2021, From https://www.bangkokbiznews.com/news/914569.
Department of Thai Traditional and Alternative, Medicine Ministry of Public Health. (2017). National Master Plan on the Development of Thai Herbs, Issue 1, 2017 – 2021. Print No. 2. Nonthaburi: TS Interprint Co., Ltd.
Jearakul, T. (2014). Problems and guidelines for adjusting OTOP in preparation for AEC. Journal of Executives, 34(1), 177-191.
Mahain, J., et al. (2011). Operation of the Enterprise Group Fabric and apparel products community Pathum Thani Province. (Research report). Bangkok: Faculty of Business Administration Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.
National Center for Nanotechnology. (2018). Project to study the market opportunity of targeted Thai herbs. Pathum Thani: National Science and Technology Development Agency.
Phromsakha Na Sakonnakhon, T. and Sangkharat, U. (2013). The Guidelines for the development of community enterprises in the Songkhla Lake District. (Research Report). Songkhla: Department of Information Studies, Faculty of Arts Prince of Songkla University.
Pitipanya, R. (1999). Potential of communities in community business and industry. Applied Economics Journal, 5(2), 99-113.
Public Health Office of Phanom Sarakham District. (2021). Turmeric, an authentic Thai herb. with benefits and to use it in the right way. Retrieved November 17, 2021, From http://203.157.123.7/ssopanom/?news=%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0. %B8%9E%E0%B8%A3
Sirimetho, P. (2013). People's Participation in Village Development of Sufficiency Economy of Ban Khlong Mai Community, Sampran District, Nakhon Pathom Province. (Master's Degree). Department of Social Development. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Srihaphanrub, M., Bunmee, K., and Nilphong, R. (2016). Management of community enterprises for mulberry growing group in Ban Nong Phong Phod, Nong Sao Lao Subdistrict, Chum Phae District, Khon Kaen Province. National academic conferences and research presentations Royal Academic Affairs No. 1. Enhancing interdisciplinary integration with Thai culture confidently step into AC”, 864-874.
Sripong, C. et al. (2016). Development of a housewife community enterprise in the 4th Army Area Army in the Southern Border Provinces. (Research report). Yala: Management Science Yala Rajabhat University.