บทบาทของทุนจีนในการขยายความสัมพันธ์แบบทุนนิยมในระบบเกษตรกรรมของประเทศลาว: กรณีศึกษาสวนกล้วยขนาดใหญ่

Main Article Content

ณัฐพงศ์ รักงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของทุนจีนในการขยายความสัมพันธ์แบบทุนนิยมในระบบเกษตรกรรมของสปป. ลาว 2) เพื่อศึกษาตัวแสดงที่มีบทบาทในการในการขยายความสัมพันธ์แบบทุนนิยมในระบบเกษตรกรรมของสปป. ลาว และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบในการขยายความสัมพันธ์แบบทุนนิยมในระบบเกษตรกรรมของสปป. ลาว ผลการศึกษาพบว่า


บทบาทของทุนจีนในระบบเกษตรกรรมในเขตประเทศลาวสามารถอธิบายได้จาก 2 ปัจจัยสำคัญได้แก่ปัจจัยผลักดัน (Push Factors) จากรัฐบาลจีนผ่านยุทธศาสตร์สำคัญได้แก่ “ยุทธศาสตร์ก้าวออกไป” (Going Out Strategy) “ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21” (Belt and Road Initiative: BRI) และ “ยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหาร” (Food Security) ซึ่งเป็นปัจจัยภายในของรัฐบาลจีนอันเป็นแรงขับเคลื่อนผ่านการวางนโยบายและระบบกฎหมายเพื่อส่งเสริมบทบาทของรัฐวิสาหกิจและเอกชนจีนในการลงทุนภายนอกประเทศ และปัจจัยดึงดูด (Pull Factors) ภายในของสปป.ลาว จากลงทุนทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมรวมถึงเกษตรกรรมจากประเทศจีนได้แก่ ปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ความสัมพันธ์ทางการเมือง (Political Relationship) และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Cooperation) โดยมีตัวแสดงที่มีบทบาทต่อการขยายความสัมพันธ์แบบทุนนิยมในระบบเกษตรกรรมได้แก่รัฐบาลจีนซึ่งขับเคลื่อนตามแนวคิดทุนนิยมโดยรัฐ (State Capitalism) โดยมีรัฐวิสาหกิจ (State-owned enterprises: SOEs) เป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายการลงทุนยังต่างประเทศเพื่อการเป็นมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจซึ่งสอดรับกับรัฐบาลสปป.ลาว ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากสภาวะความยากจนโดยใช้โดยการพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศและการเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติให้กลายเป็นสินค้า


สำหรับทุนจีนที่เข้ามาเพาะปลูกสวนกล้วยขนาดใหญ่ในสปป.ลาวแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ กลุ่มทุนขนาดใหญ่ซึ่งใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกจำนวนมากจึงต้องขออนุญาตสัมปทานที่ดินผ่านรัฐบาลกลาง และกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กซึ่งใช้ต้นทุนแรงงานและที่ดินต่ำผ่านการเช่าที่ดินจากชาวบ้านในพื้นที่ การเพาะปลูกสวนกล้วยโดยทุนจีนแม้จะนำมาซึ่งรายได้จากการส่งออกเป็นจำนวนมาก แต่หากพิจารณาถึงเบื้องหลังตัวเลขความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเห็นถึงผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงอันได้แก่ทุนจีนซึ่งเป็นผู้ทำการผูกขาดกระบวนการตั้งแต่การควบคุมเมล็ดพันธุ์ การเพาะปลูก การกำหนดกำลังแรงงาน ตลอดจนการจำหน่ายผลผลิตไปยังประเทศจีน สวนกล้วยไม่ได้ถ่ายทอดความรู้หรือสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน ชาวบ้านมีรายได้จากการให้เช่าสัมปทานที่ดินและแรงงานรับจ้างแต่เพียงเล็กน้อย ทุนจีนได้ทำการขูดรีดเอามูลค่าส่วนเกินจากการผลิตเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองขณะที่สปป.ลาวกลับสูญเสียส่วนเกินในการสะสมทุนเพื่อการพัฒนาและตกอยู่ในสภาวะการพึ่งพิงการลงทุนจากทุนจีน ขณะเดียวกันสวนกล้วยกลับสร้างปัญหาและผลกระทบต่อชุมชนไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตเพื่อการยังชีพมาสู่การผลิตเพื่อการค้า การปิดล้อมที่ดิน (Land Enclosure) การขูดรีดแรงงาน (Exploitation) ในภาคเกษตรกรรม และผลกระทบทางด้านสุขภาพและมลภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีอย่างเข้มข้นในการเพาะปลูกซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการเพาะปลูกของชาวบ้านและชุมชนในระยะยาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Grimsditch, M. (2017). Chinese Agriculture in Southeast Asia: Investment, Aid and Trade in Cambodia, Laos and Myanmar. HEINRICH-BÖLL-STIFTUNG Southeast Asia.

Kosaikanont, R. (2010). International Political Economy: The Greater Mekong Sub-region Project (GMS). The Tourism and Economic Development Research Project: Economic Quadrangle Concept and Obstacles in the Development of the Greater Mekong Subregion. The Thailand Research Fund (TRF).

Kruaechaipinit, S. (2021). Balancing State Capitalism and Digital Economy in China. SAU Journal of Social Sciences & Humanities, 5(2), 53-67.

Li, R. (2013). Food Security Policy of Chinese Government. Journal of Social Development (2), 101 - 112.

Santasombat, Y. (2010). The Greater Mekong Sub-Region within the Perspective of Economic Quadrangle. The Greater Mekong Sub-region Project (GMS). The Tourism and Economic Development Research Project: Economic Quadrangle Concept and Obstacles in the Development of the Greater Mekong Subregion. The Thailand Research Fund (TRF).

Siriphon, A. (2019). Chinese Influence towards the Security of Tourism and Agricultural Industry of Northern Thailand. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).

TFNET NEWS COMPILATION. (2017). LAOS: Bananas topping list of agricultural export earners. Retrieved 13 April 2019, from https://www.itfnet.org/v1/2017/11/laos-bananas-topping-list-of-agricultural-export-earners/

Van der Ploeg, J. D. (2009). The New Peasantries: Struggles for Autonomy and Sustainability in an Era of Empire and Globalization. (Earthscan Food and Agriculture).