การขูดรีดแอบแฝงในระบบเกษตรพันธสัญญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการขูดรีดแอบแฝงในระบบเกษตรพันธสัญญาเป็นศึกษารูปแบบเกษตรพันธสัญญาในการเลี้ยงสุกรในพื้นที่เขต 7 (สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) และการขูดรีดที่บริษัทคู่สัญญากระทำต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร รวมถึงผลกระทบจากการขูดรีดของบริษัทคู่สัญญาที่มีต่อเกษตรกรและแรงงานรับจ้างในฟาร์มในพื้นที่เขต 7 โดยการศึกษานี้ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในเขต 7, แรงงานรับจ้างในฟาร์มสุกร และตัวแทนบริษัทในระบบเกษตรพันธสัญญา เป็นกลุ่มตัวอย่าง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมของผู้วิจัยเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์หารูปแบบของเกษตรพันธสัญญา ผลกระทบจากการเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญา และแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร
ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่เขต 7 มีรูปแบบเกษตรพันธสัญญาเป็นแบบสัญญาจ้างเลี้ยงและสัญญาประกันราคา ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการขูดรีดและความเข้มข้นของการขูดรีดของบริษัทที่มีต่อเกษตรกรและแรงงานรับจ้างในฟาร์ม เช่น สัญญาเป็นสัญญาสำเร็จรูป เกษตรกรไม่มีอำนาจในการกำหนดข้อตกลงในสัญญา, การที่บริษัทบังคับซื้อปัจจัยการผลิตจากบริษัทเท่านั้น หรือ การกำหนดราคาซื้อ-ขาย โดยบริษัท เป็นต้น นอกจากการขูดรีดที่ปรากฏในสัญญาแล้ว ยังมีการขูดรีดที่ไม่ปรากฏในข้อตกลงหรือเงื่อนไขตามสัญญา แต่เป็นการขูดรีดแอบแฝง เช่น การถูกบังคับให้ปรับปรุงโรงเรือน การจ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชาให้แก่ตัวแทนบริษัท เป็นต้น นอกเหนือจากการขูดรีด เกษตรกรและแรงงานรับจ้างในฟาร์มยังได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การบาดเจ็บจากการทำงาน การสูดดมฝุ่นละอองและสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการเลี้ยงสัตว์ หรือการพักผ่อนที่ไม่เป็นเวลา รวมถึงการที่แรงงานรับจ้างในฟาร์มถูกทำร้ายร่างกายจากเกษตรกรหรือหัวหน้าแรงงาน เมื่อเป็นเช่นนี้ เกษตรกรจึงมีการปรับตัวเพื่อลดการพึ่งพาและการขูดรีดจากบริษัท เกษตรกรบางรายใช้วิธีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง หรือเปลี่ยนบริษัทคู่สัญญาโดยเลือกบริษัทที่เห็นว่ามีข้อตกลงในสัญญาที่เป็นธรรมกว่าบริษัทเดิม ขณะที่เกษตรกรบางรายเลือกที่จะเข้าสู่ภาวะอิสระแบบเต็มตัว คือออกจากระบบเกษตรพันธสัญญาและเลี้ยงสุกรแบบอิสระขายผลผลิตให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Baumann, P. (2000). Equity and Efficiency in Contract Farming Schemes: The Experience of Agricultural Tree Crops. Working Paper 139. London: Overseas Development Institute.
Brue, Stanley L. and Grant, Randy. (2013). The Evolution of Economic Thought. (8thed.). Ohio: South-West Cengage Learning. (2007).
Cohen, G.A. (2011). The Labor Theory of Value and the Concept of Exploitation. Philosophy & Public Affairs, 8(4). Retrieved May 11, 2020 from https://e- tcs.org/wp-content/uploads/2014/03/cohen-exploitation-and-theory-of- value.pdf
Little, P.D. & Watts, M.J., (1994). Living under contract: contract farming and agrarian transformation in sub-Saharan Africa. Madison, University of Wisconsin Press. Retrieved from https://uwpress.wisc.edu/books/0331.htm
Pindiyck, R.S. and Rubinfeld, D.L.. (2013). Microeconomics. (8th ed.). New York: Pearson.(2001).
The Secretariat Office of Contract Farming Promotion and Development Commission. (n.d.). Entrepreneur Registration List. Retrieved June 16, 2021 from https://contractfarming.moac.go.th/v2/index.php?module=biz&view=html& handle=listb&menutop=biz
Singh, S. (2002). Multi-National Corporations and Agricultural Development:
A Study of Contract Farming in The Indian Punjab”, Journal of International Development. No 14, 181–194.
Singh, S. (2005). Role of the state in contract farming in Thailand: experience and lessons. ASEAN Economic Bulletin. Retrieved May 5, 2020 from http://v- reform.org/wp- content/uploads/2012/08/%E0%B8% AB%E0%B8%99% E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD-contract- farming1.pdf
Singh, S. (2006). Contract Farming and the State. (Experiences of Thailand and India). Delhi: Kalpaz Publications.
Schulze, B., Spiller, A. & Theuvsen, L. (2006). More Trust Instead of More Vertical Integration in the German Pork Production? Empirical Evidence and Theoretical Considerations. European Association of Agricultural Economist Seminar 99th. Bonn, Germany.
Suebwattana, T., Phruttinarakorn, P. (1988). Rice: in Late Ayutthaya B.E.2199-2310”, Khao Prai-Khao Chao of Siameses. Silapawattanatham Printing.
Thongpanya, T. (2018). Process and conditions of the decision for an entrance into contract farming system of farmers in Nakhon Pathom Province. Journal of Liberal Arts. 10(1), 254-277.
Vimuktalob, C. (1988). Land Tenure and Land Rent Systems in the Chiang Mai Valley. (Master’s thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.
Ouyyanont, P. & Wanaset, A. (n.d.). Contract Farming: Mechanism to create inequality and fairness?. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.