การจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชนในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

Main Article Content

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ ดีเยี่ยม

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอการจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชนในการยกระดับคุณภาพชีวิต และเสนอความรู้หลักที่เป็นเป้าหมายของการจัดการความรู้คือ ความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่จับต้องยากหรือไม่ได้เลย การจัดความรู้บนฐานทุนชุมชน โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ความสามารถที่ได้รับการสั่งสมถ่ายทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน มีการนำความรู้และประสบการณ์ของตนเองมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ไม่ว่าจะภูมิปัญญาด้านอาชีพ ด้านการรักษาโรค ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น              ซึ่งภูมิปัญญาเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ซึ่งมาจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การบันทึกไว้ในคู่มือ หรือจากการเรียนรู้ศึกษา นั่นเอง การจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชนที่มีประสิทธิภาพนั้น จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น เช่น การใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการทอผ้า ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ให้ออกมาสวยสดงดงาม ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภค โดยการพัฒนาต่อยอดความรู้ที่มีให้มีความหลากหลาย ทั้งวัสดุที่ใช้ ลวดลาย เทรนด์สีของผ้า เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคและผู้สนใจทุกเพศ ทุกวัยเข้ามาสนใจหรือจับจ่ายซื้อขายได้เป็นอย่างดี การทอผ้าถือเป็นงานหัตศิลป์หัตถกรรมที่มีคุณค่า สร้างเอกลักษณ์ของคนประจำถิ่น อีกทั้งยังสามารถสร้างงานสร้างรายได้แก่ชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชนที่ดี จะเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน การจัดการความรู้ของชุมชน จึงเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ของชุมชน เพื่อเป็นคลังแห่งความรู้และคลังแห่งปัญญา ในการที่จะนำไปถ่ายทอดแก่ผู้คนในชุมชนและนอกชุมชน เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความยั่งยืน ตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Chakpitak, N. (2009). Theory of Knowledge Management. (1st printing), Bangkok: Thana Press Company Limited.

Choo,Chum.W. (2000). Working knowledge : How Organizations Manage What They

Community Development Department, Community Management System and Community Processes in Community Planning. Retrieved 1. http://www.kmddc.go.th/uploads/file/km/manual/manual_KM2557.pd

Davenport, Thomas H. (2009). Knowledge Management. Bangkok: AR Business Press.

February 2022,from https://online.anyflip.com/ruxye/ipmh/mobile/index.html.

For example. Bangkok: Prints.

Kaewthep, K. (1998), The Media Studies by Critical Theory: Concepts and

Know. Paper presented at the 11 th Congresses of Southeast Asian Librarians,Singapore, (April).

Ministry of Public Health. (2022). Coronavirus Disease Prevention and Control Guidelines 2019 for place of religious ceremonies, Retrieved February 1. 2022, from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/measure/mea_religious_040363.pdf.

Phuangngam, K. (2010), Community and Local Self-Management. Bangkok: Publishing House.

Tantayanubut, P. (2007). Thai wisdom. Bangkok: Dhurakij Pundit University.

Wasi, P. (2002). The 21st Century Human Way to a New World of Development. Bangkok: Sodsrisaritwong Foundation.

Wichian, B. (2016). Knowledge Management to practical wisdom. (2nd edition), Bangkok: Thammakamol printing.

Wongsasan, K. et al., (2009). Thai way of life. Bangkok: Third Wave Education.