ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและช่องทางการรับรู้ข่าวสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน พื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่และน่าน

Main Article Content

เพิ่มศักดิ์ พันธ์แตง
สุกัญญา สุจาคำ
ชัชวาล ภานุศุภนิรันดร์
กมลวรรณ มั่งคั่ง

บทคัดย่อ

ผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการแก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการรับรู้ข่าวสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนใน จังหวัด อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน  โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 400  คน และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ปัจจัยที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4 Ps  ปัจจัยช่องทางการรับรู้ข่าวสาร และปัจจัยการตัดสินใจซื้อ  ในวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


 ผลการวิจัย พบว่า ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41 – 45 ปีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 25,000 บาท  ซึ่งพฤติกรรมทั่วไปของลูกค้าในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า ระยะเวลาสูงสุดที่เป็นลูกค้าในการซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน น้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 36.30 โดยประเภทของผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เคยซื้อ ส่วนใหญ่เป็นอาหาร ร้อยละ 32.80 แหล่งที่ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน คือ ร้านขายของฝาก ร้อยละ 27.10 และมีความถี่ในการใช้/ซื้อบริการผลิตภัณฑ์ชุมชน ซื้อ 1 ครั้งต่อเดือน ร้อยละ 49.50  ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยด้านผลิตภัณฑ์    gif.latex?\vec{x} คือ 4.09  S.D. คือ 0.548  ด้านราคา  gif.latex?\vec{x}คือ 4.11   S.D. คือ 0.642 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย gif.latex?\vec{x} คือ 3.96 S.D. คือ 0.621 ด้านการส่งเสริมการตลาด gif.latex?\vec{x}คือ 3.97 S.D. คือ 0.679     


 ส่วนปัจจัยช่องทางการรับรู้ข่าวสาร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกข้อ ด้านการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านสื่อสารโดยบุคคล มีค่า gif.latex?\vec{x} คือ 4.04  S.D. คือ 0.687 ด้านสื่อออนไลน์ gif.latex?\vec{x}  คือ 3.95  S.D. คือ 0.877  ด้านสื่อเฉพาะกิจ gif.latex?\vec{x} คือ 3.81 S.D. คือ 0.803  ด้านสื่อมวลชน gif.latex?\vec{x} คือ 3.69  S.D. คือ  1.012 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Atikongkkiat, P., & Srisodto, S. (2019). The perceived value and consumers’ attitudes toward the marketing mix affecting decision making process of collagen supplements in Bangkok. The 14 th UTCC National Graduate Research Conference 2019.

Chaisurat, S. (1994). Principles of marketing. Bangkok: Bhumibandit Publishing.

Lavertu, L., Marder, B., Erz, A., & Angell, A. (2020). The extended warming effect of social media: Examining whether the cognition of online audiences offline drives prosocial behavior in ‘real life’. Computers in Human Behavior, 110(September 2020), 106-389.

Nusit, A., & Ngernleain, S. (2019). Marketing mix and decision process for choosing Aeon credit card in Pitsanulok. Journal of management sciences. 2(3), 3-10.

Panthong, J. ( 2016). Product Confidence in Channels of Information, and Product Innovation Affection Purchase Decisions of OTOP Product in Bangkok. Bangkok University. Phakthongchai OTOP silk product of Nakornratchasrima. Ramkhamheang University.

Pantang, P. (2021). Guidelines for upgrading and developing community products of community enterprise groups in Phrae Province. The 10th National and the 3th International Conference Management Sciences 2021 Innovation Management for Enchancing the Local Economy.

Suiphonoi, S. (2019). A study of marketing mix factors that affect selection decisions. Buy OTOP products, Pakthongchai silk of the people Nakhon Ratchasima Province. Independent research. Faculty of Business Administration Ramkhamhaeng University.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques, Experimental designs. New York: Wiley.