ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

วนิดา นาควิเชตร์
บุษกร วัฒนบุตร
วิโรชน์ หมื่นเทพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจในงาน และการคงอยู่ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 2,507 คน มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 323 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้วิธีการเทียบสัดส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1 ทุกข้อ ค่าอำนาจการจำแนกอยู่ระหว่าง .226 -.869 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .965 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ


           ผลการวิจัย พบว่า


  1. ความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจในงาน และการคงอยู่ของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยเอกชนในภาพรวม อยู่ในระดับมาก

  2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ ได้แก่ ความผูกพันต่อเนื่อง ความผูกพันบรรทัดฐาน ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุนมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยเอกชนอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความผูกพันต่อองค์กรด้านความรู้สึกมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยเอกชนอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance And normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.

Best, J.W. (1993). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Chantawaro, S. (2018). Retention Factors on Organizational Commitment of Phra Chulachomklao. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Grantton, L., & Ghoshal, S. (2003). Managing Personal Human Capital: New Ethos for the ‘Volunteer’ Employee. European Management Journal, 21(1), 1-10.

Herzberg (1959). The Motivation to work. New York : John Wiley and Sons.

Komonsanoa, K. (2018). Factors Affecting to Government Employee Gen Y Retention with the Autonomous University in Southern Thailand. (Doctoral Dissertation). Prince of Songkla University. Songkla .

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. American Psychological Association, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, In Reading in Fishbeic. New York: Wiley & Son.

Phoangphaew, P. (2018). Factors Related to Job Retention Among the Construction Workers in a Building Construction Company in Bangkok. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.

Pimthong, S. (2014). Antecedent Factors Correlated with the Organizational Retention of the University Academic Staffs. (Research Report). Srinakharinwirot University: Bangkok.

Taunton, R.L., Krampitz, S.D., & Woods, C.Q. (1989). Manager impact on retention of hospital staff, Part 2. Joumal of Nursing

Administration, 19(4), 15-9.

Treeprasitchai, T. (2013). Factors Affecting Employee Retention of Five-star Hotels in Bangkok. (Master’s Thesis). Bangkok University. Bangkok.

Watthanabut, B. (2018). Knowledge exchange and transformational leadership style for team improvement. Utopíay Praxis Latinoamericana, 24(6), 207-214.