แนวทางในการพัฒนาเทศบาลให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง แนวทางในการพัฒนาเทศบาลให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย หนึ่ง เพื่อศึกษาปัญหาและความจำเป็นในการปรับฐานะเทศบาลนครแหลมฉบังเป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สอง เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเทศบาลนครแหลมฉบังให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ และ สาม เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานข้าราชการส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครแหลมฉบัง
ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาและความจำเป็นในการปรับฐานะเทศบาลนครแหลมฉบังเป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษมี หนึ่ง ปัญหาด้านการจัดการบริการสาธารณะในเขตพื้นที่อุตสาหกรรม ท่าเรือ และชุมชน สอง ปัญหาด้านอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย และสาม ปัญหาด้านรายได้และงบประมาณในการบริหารจัดการ
แนวทางการพัฒนาเทศบาลนครแหลมฉบังให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ พบว่า มี 4 แนวทาง ได้แก่ หนึ่ง รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง ต้องยกเลิกการกดทับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้การบังคับแห่งกฎหมาย และต้องให้เสถียรภาพทางการนโยบาย สอง เทศบาลนครแหลมฉบังต้องหันกลับมาสนใจกับการผลักดันและขับเคลื่อนตนเองเข้าสู่การเป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ สาม กฎหมายและระเบียบต้องปรับให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจุบันและพื้นที่ และต้องให้อำนาจในการบริหารจัดการพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้น และสี่ ประชาชนต้องมีความเข้มแข็งในระดับรากฐานของชุมชน และต้องมีการรับรู้สิทธิและสิทธิพิเศษของการเป็นเมืองพิเศษ
ความคิดเห็นของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อปัญหาและอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลนครแหลมฉบัง ได้แก่ ถนนชำรุดเสียหาย การจราจรติดขัด การจัดการขยะ ประชากรแฝง ชุมชนแออัด น้ำท่วมขัง สาธารณูปโภคไม่เพียงพอ มลพิษจากอุตสาหกรรมและท่าเรือ การทุจริตภายในหน่วยงาน การประชาสัมพันธ์และการกระจายข้อมูลข่าวสารที่ไม่เพียงพอ การทำงานของหน่วยงานที่ล่าช้า ขาดการลงพื้นที่ดูแลประชาชนและชุมชน และงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบริหารงานของเทศบาลนครแหลมฉบัง ส่วนผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการปรับให้เป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ มีการจัดเก็บภาษีเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นที่ การได้รับผลประโยชน์ในด้านสาธารณสุข การรองรับเศรษฐกิจและการลงทุนในอนาคต การได้รับบริการสาธารณะที่ดียิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างเทศบาลและประชาชนในพื้นที่ การสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาของชุมชน และการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบัง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Deputy Mayor of Laem Chabang City Municipality (2021). Interview. October, 15.
Director of the Strategy and Budget Division, Laem Chabang City Municipality (2021). Interview. October, 26.
King Prajadhipok’s Institute. (2023). A Special Local. Retrieved September 15, from http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=.
Laem Chabang City Municipality (2007). Summarizing the details of establishing Laem Chabang Municipality as a special local area, 'Laem Chabang City'. Chon Buri: Laem Chabang City Municipality.
Luangprapat, W. (2011). Summary Report on the Study of Organizational Management Models in Special Administrative Areas: A Case Study of Mae Sot City and the Establishment of Special Local Administration presented to Mae Sot Municipal Council. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Luangprapat, W. (2011). A Special Form of Local Government Administration. Bangkok: Thammasat University.
People of Laem Chabang City Municipality. (2021a,). Interview. September, 22.
People of Laem Chabang City Municipality. (2021b,). Interview. September, 28.
Phinijwong, A. (2019). Push of ‘the development of a special local’ The 20 MPs urging the formation of a subcommittee. Retrieved September 4, from https://www.thansettakij.com/business/406451.
Research Institute and Consultancy of Thammasat University (2010). The project elevates the status of Laem Chabang City Municipality to a special industrial and port. Chon Buri: Laem Chabang City Municipality.
Setabutr, N. (1998). Direct election of mayor. Bangkok: Thammasat University.