การยอมรับนวัตกรรมเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนจันทบุรี : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ

Main Article Content

จำลอง แสนเสนาะ
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์
ขวัญศิริ เจริญทรัพย์
พรทิวา อาชีวะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนจันทบุรี ในการวิจัยจะใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานแบบรับลูกต่อกันระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจในแง่เชิงปริมาณโดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 386 คน ได้มาจากเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง ตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและวิเคราะห์เชิงตีความทางสังคมจำนวน 8 คน โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์คือ ผู้รู้ผู้ให้ข้อมูลหลักในแต่ละด้าน


          ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยคือ ประชาชนในเขตตำบลพวาและตำบลสามพี่น้องไม่ยอมรับยอมรับนวัตกรรมเชิงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำของอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี โดยมีประเด็นตามลำดับคือ


  1. การไม่ยอมรับให้มีการจัดตั้งเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ตาม โดยอ้างว่าเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม

  2. การไม่ยอมรับให้บริษัทเหมืองแร่ทองคำเข้ามาสำรวจในพื้นที่ได้จากราชการอนุมัติแล้ว และการยอมรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำว่าเป็นการนำความเจริญเข้ามาในพื้นที่

  3. การไม่ยอมรับการทำเหมืองแร่ทองคำเพราะว่าจะช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่แก่ท้องถิ่นและการยอมรับให้มีการจัดตั้งโรงงานเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ได้ถ้ามีการสำรวจพบว่า มีแร่ทองคำเพียงพอจริง

  4. การไม่ยอมรับการทำเหมืองแร่ทองคำเพราะถือว่าเป็นรูปแบบอุตสาหกรรมใหม่ของจังหวัดจันทบุรี

ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ ได้แก่ ประโยชน์เชิงสัมพัทธ์ของนวัตกรรม ความเข้ากันได้ของนวัตกรรม ความซับซ้อนของนวัตกรรม ความสามารถนำไปทดลองก่อน และความสามารถในการสังเกตเห็นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chanthaburi Industry Government. (2020). Department of Primary Industries and Mining. (Announcement dated 27 August 2020). Chanthaburi: Author.

Chonpaisarn, J. (2015). Economic impact from gold mining. Bureau of Mines and Concessions.

Eastern Economic Corridor. (2017). EEC. Retrieved October 31, 2020, from https://www.eeco.or.th/th.

Praditsil, C. (2016). Social research methods. (1st ed.). Rambhai Barni Rajabhat University: Work Press.

Research Administration, and Educational Quality Assurance Division. (2017). Thailand 4.0 blueprint, a model for driving Thailand towards prosperity, stability and sustainability. Retrieved October 31, 2020, from http://www.bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/Thailand%204.0_050160%20%281%29.pdf.

Rogers, E. M. (1968). Diffusion of Innovation. New York: The Free Press.

Mhoprasit, S. (1993). Statistics for research. Bangkok : Chulalongkorn University.

Thaipublica. (2018). Eastern Fruit Corridor. Retrieved October 31, 2020, from https://thaipublica.org/2018/02/eec-ncpo-cabinaet-6-2-2561/.

Yamane, T. (1973). Elementary Sampling Theory. Englewood Clift: N.J. Prenice-Hall.