รูปแบบการสร้างเครือข่ายการพัฒนาเกษตรวิถีพุทธและกระบวนการผลิตสินค้าปลอดภัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการสร้างเครือข่ายการพัฒนาเกษตรวิถีพุทธและกระบวนการผลิตสินค้าปลอดภัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 10 รูป/คน ผู้ร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ 15 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
- 1. การสังเคราะห์เกษตรวิถีพุทธต้นแบบของศูนย์วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ การปลูกพืชแบบกลุ่มด้วยระบบพืชอาศัยพืช อาทิ การปลูกไม้ยืนต้นแนวทางทิศตะวันตก พืชผักสวนครัวแนวทางทิศตะวันออก
เพื่อการเข้าถึงแสงแดด การปลูกพืชไร่แมลงศัตรูพืช อาทิ ตะไคร้ ปอเทือง ดาวเรือง มะละกอ การไม่ใช้สารเคมีฆ่าแมลงในการทำเกษตร การใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ ลดการเผาวัชพืช ไม่เบียดเบียนเพื่อนบ้าน
ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่เบียดเบียนสภาพแวดล้อมและธรรมชาติเป็นการทำเกษตรเชิงวิถีพุทธ ควรซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นด้านการไม่ใช้สารเคมีกับพืชผักที่ปลูกหรือนำไปจำหน่าย - 2. กลยุทธ์การพัฒนาการสร้างเครือข่ายกิจกรรมการผลิตสินค้าปลอดภัยวิถีพุทธ การวิเคราะห์สออาร์เกษตรอินทรีย์วิถีพุทธ ได้แก่ จุดแข็ง 1) ศูนย์เรียนรู้ 2) ปราชญ์ชาวบ้าน 3) ทุนกายภาพ 4) ด้านผู้นำ 5) ด้าน
ผู้ตาม 6) ผักปลอดสารพิษ 7) เครือข่ายในการสนับสนุน โอกาส 1) เครือข่ายชุมชน 2) การท่องเที่ยวชุมชน 3) แปรรูปผลผลิต 4) โฮมสเตย์วิถีวัฒนธรรม เป้าหมาย 1) สุขภาพกายและสุขภาพใจ 2) การพัฒนาเกษตรเชิงพื้นที่ 3) สร้างเครือข่ายวิถีพุทธ 4) ตลาดอินทรีย์วิถีพุทธ 5) ตลาดครบวงจร และผลลัพธ์ 1) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 2) ความยั่งยืนด้านสังคม 3) ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ 4) การเงินดี 5) สุขภาพดี 6) ชุมชนมีรายได้ 7) สร้างความสามัคคีภายในชุมชน และ8) สร้างภาคีเครือข่าย “บวร” - 3. รูปแบบการสร้างเครือข่ายการพัฒนาเกษตรวิถีพุทธและกระบวนการผลิตสินค้าปลอดภัย ผู้นำชุมชน คือ พระสงฆ์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรริเริ่มแนวทางการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการบริโภคในชุมชนที่ยั่งยืนปลอดภัย ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย อาทิ เด็ก เยาวชน ผู้ประกอบการเกษตร นักวิชาการ หน่วยงาน ศูนย์เกษตร ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบเป็นระบบ ผู้ร่วมกิจกรรมตระหนักถึงความสำคัญของเครือข่าย ที่เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างร่วมกิจกรรมทุกประเภท ตามแนวคิดเกษตรอินทรีย์ที่สามารถสร้างวัฒนธรรมการรับประทานพืชผักปลอดภัย ควรเริ่มจากครอบครัว ขยายไปสู่ชุมชน สังคม และประเทศ ซึ่งสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรมการรับประทานผักปลอดสารพิษ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Anusornpanitchakul, T. et al. (2018). Model of successful community enterprises in Thailand. Phetchabun Rajabhat Journal, 20(1), 8-17.
Bunraeng, P. & Yamontri, A. (2007). Organic agriculture: theory and applications for farmers. Chiang Mai: Good Printing Limited Partnership.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok: Mahachu lalongkornrajavidyalaya Printing House.
Ministry of Commerce. (2017). National Organic Agriculture Development Strategy 2017 – 2021. Bangkok: Ministry of Commerce.
Office of Agricultural Economics. (2015). Quantity and value of agricultural hazardous substances 2010-2015. Bangkok: Office of Agricultural Economics.
Phra Thep Rattanamuni (Saipong Anompanyo), K. et al. (2016). Buddhist agriculture to solve community economic problems. Cho Payom Journal, 25(1), 53-64.
Phraraj woramuni (Phon Aphakaro) et al. (2015). Integrated Buddhist ecology for sustainable development in enhancing the health and learning of Thai society. Journal of Social Sciences and Humanities, 41(2), 32-48.
Supapunt, P. et al. (2017). Appropriate marketing strategies for organic agricultural product distribution channels in Chiang Mai Province. Parichat Journal Thaksin University, (Special Issue), 35-44.