ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการเรียนรู้และกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ปิยนุช อุดมเกียรติสกุล
สินกาญจน์ สังข์สกฤกษฎ์
ประสิทธิ์ นาคปทุมสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการเรียนรู้และกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์
(1) เพื่อศึกษาวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี (3) เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการเรียนรู้และกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจงเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ตรงตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยประกอบด้วย นักเรียนมัธยมที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษทุกวิชา ในภาคเรียนที่ 1/2566 ของโรงเรียนเอกชนที่เปิดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 270 คน จากสถาบันการศึกษาเอกชน 5 แห่ง ในจังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .22-.09 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าอยู่ระหว่าง .75-.92 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\vec{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson correlation)


ผลการวิจัย พบว่า (1) วิธีการเรียนรู้ด้วยการฟังและการเรียนรู้โดยลำพังมีนัยสำคัญสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ส่วนอีก 4 วิธีการเรียนรู้ที่เหลือไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเนื่องจากมีค่าเฉลี่ยต่ำ ถือเป็นวิธีการเรียนรู้ที่นักเรียนนำไปใช้น้อย (2) กลยุทธ์การเรียนรู้ที่ผู้เข้าร่วมการศึกษามักใช้ในการเรียนภาษาอังกฤษ พบว่าใช้กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์พุทธิปัญญา ตามด้วยกลยุทธ์อภิปริชาน กลยุทธ์ความจำ กลยุทธ์การทดแทน กลยุทธ์ทางสังคม และที่ใช้น้อยสุดได้แก่กลยุทธ์ประเภทอารมณ์ (3) ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการเรียนรู้และกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ พบว่าผู้ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยสายตาสามารถควบคุมอารมณ์และทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษได้ดี นั่นคือสามารถควบคุมระดับความวิตกกังวล และสามารถจูงใจตนเองได้ ส่วนผู้เรียนที่ใช้วิธีการฟังจะเป็นผู้ที่รู้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุมีผลและสามารถแปลความหมายเพื่อนำไปใช้ได้ ทั้งนี้ยังพบอีกว่านักเรียนมีปัญหาในการใช้กลยุทธ์อภิปริชานร่วมกับกลยุทธ์การเรียนรู้อื่นๆ และกลยุทธ์ดังกล่าวถูกนำมาใช้โดยพลการปราศจากการไตร่ตรอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Grainger, P. (2008). Language-learning strategies for learners of Japanese: investigating ethnicity. (Research Report). Foreign Language Annals: ACTFL Language.

Green, M. & Oxford, L. (1995). A closer look at learning strategies, L2 achievement, and gender. (Research Report). TESOL Quarterly: TESOL International Association.

Jindaprasert, A. (1997). Development of foreign language learning strategies. (Master’s Thesis). Khon Kaen University. Khon Kaen.

Mulalic, A., Mohd Shah, P. & Ahmad, F. (2009). Perceptual Learning styles of ESL students.

Retrieved October 6, 2023, from https://www.researchgate.net/publication/285976746_Perceptual_learning_styles_of_ESL_students.

Munkham, S. (2012). Learning management methods: to develop thinking processes. Bangkok: Print.

Oxford, R. & Crookall, D. (1990). Research on six situational language learning strategies: Methods, findings, and instructional issues. Modern Language Journal, 22 (3), 73-76.

Oxford, R. L. (1990). Language learning strategies: what every teacher should know. New York: Newbury House Publishers.

Peacock, M. (2001). Match of Mismatch: Learning Style and Teaching Styles in EFL. International Journal of Applied Linguistics, 11(1). 38 - 58.

Prawanphruek, W. (1998). “Classroom research and guidelines for developing teaching and learning” Handbook for learning development. Bangkok: Department of Academic Affairs, Ministry of Education.

Pringprom, P. (2008). A study of the use of English learning strategies for first- and second-year students at Bangkok University. (Master’s Thesis). Bangkok University. Bangkok.

Reid, J. (1987). The learning style preferences of ESL students. Boston: Heinle & Heinle.

Reid, J. (1998). Understanding learning styles in the second language classroom. USA: Prentice Hall Regents.

Shih, C., & Gamon, J. (2003). Student learning styles, motivation, learning strategies, and achievement in web-based courses. Retrieved on October 23, 2023, from http://iccel.wfu.edu/publications/ journals/jcel/ jcel1990305/ccshih.htm.

Siladet, C. (2002). Mapping manual that focuses on learners. Bangkok: Mac.

Soosongdee, Y. (2023). English Language Learning Management in the 21th Century. Retrieved October 6, 2023, from

https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/269417.

Tabanlioglu, S. (2003). The Relationship between Learning Styles and Language Learning Strategies of Pre-intermediate EAP Students. (Master’s Theses). Middle East Technical University. Turkey.

Thapphun, A. (2011). A study of the use of English learning strategies of first year students at the Thai-Nippon Institute of Technology 2011. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Wasanasomsit, P. (1999). A study of the learning styles of first year students in English as a foreign language. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Wintergerst, A. (1998). Conceptualizing Learning Style Modalities for ESL/EFL Students System. Retrieved on October 20, 2023 from https://www.researchgate.net/publication/222115577_Conceptualizing_learning_style_modalities_for_ESLEFL_students.

Wongphankamon, A. (2005). English reading strategies of Mathayom 6 students with high and low English proficiency levels In the science and art lesson plan of Assumption College Thonburi, academic year 2004-2005. (Master’s Thesis). Bangkok University. Bangkok.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Yongkamon, S. (2011). Overview and synthesis of research related to international English language teaching 1982-1997. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.