การอนุรักษ์และสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษา ประเพณีฟังธรรมขอฝน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สหัทยา วิเศษ
ชูชาติ สุทธะ
สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและคุณค่าของประเพณีฟังธรรมขอฝนในฐานะที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และพัฒนากิจกรรมการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีฟังธรรมขอฝนในฐานะที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยปฏิบัติการในชุมชนห้วยไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ที่สามารถจะให้ข้อมูลได้ โดยเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณีฟังธรรมขอฝน จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวคำถามประกอบการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม โดยได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาเอกสารทุติยภูมิ และศึกษาภาคสนามโดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม รวมทั้งปฏิบัติการพัฒนากิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้หลักการวิเคราะห์เนื้อหา โดยจำแนกข้อมูลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่างๆที่รวบรวมไว้


ผลการวิจัยพบว่า


1.บทบาทและคุณค่าของประเพณีฟังธรรมขอฝนในฐานะที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พบว่า ชุมชนห้วยไคร้ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน หรือคนพื้นเมืองที่อพยพมาจากจังหวัดน่าน และอีกส่วนหนึ่งเป็นคนอีสานที่อพยพหนีภัยแล้งมาจากภาคอีสาน ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธควบคู่กับการนับถือผี จึงมีประเพณีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องผีที่ดูแลรักษาป่า รักษาน้ำ มีการทำพิธีกรรมเลี้ยงผีขุนห้วยตามความเชื่อดั้งเดิม ต่อมาพระสงฆ์ได้นำประเพณีฟังธรรมขอฝนซึ่งเป็นความเชื่อทางพุทธศาสนาเข้ามาร่วมกับการเลี้ยงผีขุนห้วย ซึ่งทำเป็นประจำทุกปีก่อนฤดูทำนา จนเป็นแนวปฏิบัติทางสังคม โดยด้านบทบาทพบว่า มีบทบาทในการเชื่อมโยงสถาบันของสังคมให้อยู่อย่างสันติสุข บทบาทในการหล่อหลอมความรักความสามัคคีของคนในชุมชนและบทบาทในการสร้างขวัญกำลังใจ ส่วนคุณค่าพบว่ามีคุณค่าด้านความสัมพันธ์ของคนในชุมชน และคุณค่าด้านคุณธรรมและจริยธรรม


2.การพัฒนากิจกรรมในการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีฟังธรรมขอฝนในฐานะที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งจะมีองค์ประกอบทุกภาคส่วนทั้งชุมชน วัด โรงเรียน สภาวัฒนธรรม ท้องที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาทำกิจกรรมร่วมกัน ในรูปแบบของศูนย์การเรียนรู้ในวัดห้วยไคร้ แผนการจัดการเรียนรู้ และพื้นที่การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในโรงเรียนห้วยไคร้ รวมทั้งการพัฒนาธรรมนูญชุมชนในการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีฟังธรรมขอฝนของชุมชนห้วยไคร้ ซึ่งถือเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonjit, Y. & Meesombat, S. (2011). The conservation and the preservation of the traditional parade and long-boat race climbing bows toward snatching a flag at Langsuan District in Chumphon Province. (Research Report). Bangkok: Department of Cultural Promotion Ministry of Culture.

Khuenchiangsa, S. (2022). Huay Krai Village in History: Muang Thoeng, Muang Nan, Lanna. (Unpublished manuscript).

Mitrprapan, V. (n.d.). Macchadok: The origin of the ceremony of listening to the Dharma Paya Plachorn. Literary and Historical Bureau: Department of Fine Arts.

Morpa, K. (2023). Villager Moo 25 HouyKrai. Interview. May, 22.

Namburi, S. & Manmee, T. (2021). Public Participation in the Preservation and Revitalization of Local Cultural Traditions in Chaiyaphum Province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(6), 125 -136.

Pangkam, P. (2023). Village chief Moo 17 HouyKrai. Interview. May, 22.

Phrakru Nandhajediyaphiban. (2017). An Analytical Study of the Rites and Values of Payamaccha-plachorn Preaching Ceremony in Lanna, Ayutthaya (Master’ Thesis) Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phrakru Pipitsutathorn, et al. (2013). Knowledge Management of Local Wisdom for Community Forest Conservation Based on Sufficiency Economy. (Research Report). Ayutthaya: Mahachulalongkorn rajavidyalaya University.

Prissana, A. (2023). Village chief Moo 8 HouyKrai. Interview. November, 3.

Soontornwong, S. (2018). Community Forest and Thai society. Retrieved September 6, from http://www.recoftc.org/sites/default/files/uploaded files

Sridarat, A. (2020). “Rain Praying Rituals”. Retrieved March 1, from https://www.gotoknow. org/Posts/491513.

Sujachaya, S. (2015). Rain Praying Rituals of the Tai Peoples. Humanities Journal, 22(2), 27- 63.

Sungkhasorn, S. (2002). Human Forest 4 Ritual and Belief with local wisdom. Chiang Mai: Tarnneung.

The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2003). Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Sixth session of the Intergovernmental Committee for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage 22-29 November 2011. Bali: Indonesia.

Wongrob, S. & Bunyasurat, W. (2021). "Cultural Heritage Management in Denchai District: A learning center and cultural attraction". Report from the7th National Academic Conference February 28, at Lamphun Buddhist College Mahachulalongkornrajavidya laya University, 293-304.