คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สุภาพ วงค์พลาย
กมลพร กัลยาณมิตร
สถิตย์ นิยมญาติ
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี 2) ประเมินสภาพปัญหาและอุปสรรคคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี  และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 15 คน  และประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 7 คน รวมผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปความแบบพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า


1) คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี มีผลสืบเนื่องมาจากพระราชบัญญัติการบริการงานและการให้บริการภาครัฐผ่านช่องทางดิจิทัล พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อรองรับการดำเนินการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้บริการและการทำงานของภาครัฐ เทศบาลในจังหวัดนนทบุรีจึงมีการยกระดับคุณภาพการให้บริการสู่ระบบดิจิทัล ทั้งด้านเอกสาร กระบวนการพิจารณา รวมถึงกระบวนการอนุมติต่าง ๆ จนเกิดรูปแบบ “การบริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)” 


2) ปัญหาและอุปสรรคของคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี  พบว่า บุคลากรของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรียังยึดติดกับวัฒนธรรมการทำงานรูปแบบเดิม เมื่อต้องปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงวิธีการทำงานของเทศบาลให้เป็นดิจิทัล ทำให้บุคลากรบางส่วนไม่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือและเทคโนโลยีได้อย่างชำนาญ 


3)  แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความต้องการเทศบาลดิจิทัลในจังหวัดนนทบุรี ได้แก่  จังหวัดนนทบุรีควรกำหนดเป็นแผนพัฒนาบุคลากรให้สามารถให้บริการผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างคล่องแคล่ว และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานผ่านระบบดิจิทัลให้แก่ประชาชนได้รับทราบและใช้บริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaichom, C., Sricharumethiyan, C., & Nahuanil, C. (2021). Thai Public Administration System. Buddhamak Journal, 6(1), 241-247.

Chayaphan, M. (2018). Improving the Service Level of Khon Kaen Municipality. (Master’s Thesis). Khon Kaen University. Khon Kaen.

Crosby, P. B. (1979). Quality Is Free The Art of Making Quality Certain. New York: McGraw-Hill.

Digital Government Development Agency. (2020). Thailand's Digital Government Development Plan 2020-2022. Bangkok: Digital Government Development Agency.

Imsamran, K. (2021). Personal Competency Development in the Digital Era of Khoktoom Subdistrict Municipality, Lopburi Province. (Master’s Thesis). Ramkhamhaeng University. Bangkok.

Intayot, P. (2021). Effectiveness of Implementing Digital Public Administration policy in Municipalities. Chomphu Subdistrict, Saraphi District, Chiang Mai Province. School of Administrative Studies Academic Journal, 4(1), 19-34.

Krungthai COMPASS. (2023). 3 Guidelines for Adapting to Online Marketing of SMEs. Retrieved 27 November 9, 2019, from https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1696

Lewis, J. M., & Bloom, S. C. (1983). Incorporation of time Continuity into Subsynoptic Analysis by using Dynamical Constraints. Tellus, 30, 496–516.

MGR Online. (2021). Changes in the Public Sector In The Digital Age. To Develop Services and Provide Convenience to the People. Retrieved September 21, 2023, from https://mgronline.com/politics/detail/9640000005992

Mapkha Subdistrict Municipality. (2023). Digital Municipal Development Plan of Mapkha Subdistrict Municipality 2023 - 2027. Retrieved August 10, 2023, from www. tessabanmabkha.go.th/news/doc_download/digital planbook_040123_113011.pdf

Mongkolpitaksuk, U. (2017). Local Government Organization Culture in the Thailand 4.0 era. Romphruek Journal, 35(2), 141-162.

Office of the National Digital Economy and Society Commission (NCDC). (2019). Project To Promote and Develop Digital Knowledge and Understanding (Digital Literacy). Retrieved September 27, 2023, from https://itm.eg.mahidol.ac.th/itm/wp content/uploads/2020/04/MDES-ONDE-Digital-Literacy-DigitalliteracycurriculumforThaicitizens.pdf

Pairun, P. (2021). Development of Management System and Online Public Service: Case Study. Bang Saray Subdistrict Municipality, Sattahip District, Chonburi Province. (Master’s Thesis). Ramkhamhaeng University. Bangkok.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64, 12-40.

Schmenner, R. W. (1995). Escaping the Black Holes of Cost Accounting. Business Horizons, 31(1), 66-72.

Sisuporn, S. & Piankhuntod, A. (2022). Culture Adapt to Become a Digital Organization of Local Government Organizations. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(8), 246-264.

Tenner, A. R., & DeToro. (1992). Total Quality Management: Three Steps to Continuous Improvement. United States: Addison Wesley.

Woraram, P. (2020). The Quality of Public Service of The Officials of The Chorakhe Subdistrict Administrative Organization is Very High. Prakhon Chai District Buriram Province. National Academic Conference Nakhon Ratchasima College, 7th time, year 2020 (pp. 888-899). Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima College.