บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน และเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงอุปสรรคในการแก้ไขปัญหายาเสพติด งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษากลุ่มประชากรประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอ ทุ่งช้าง จังหวัดน่าน จำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือแบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การทดสอบแบบเอฟ และนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลวิจัยพบว่า การดำเนินการในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.10) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (µ = 4.27) เมื่อพิจารณาข้อย่อยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การให้ผู้เสพผู้ติดเข้าถึงบริการด้านการ บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เมื่อพิจารณาข้อย่อยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดในชุมชนเพื่อป้อมปรามการกระทำผิด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (µ = 3.88) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติดพบว่า อายุ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด และด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อาชีพ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้าน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chansiri, N. (2010). Perception of expected roles and actual roles of People towards the local development of the Subdistrict Administrative Organization in the province Songkhla. (Master’s Thesis). Songkla University. Songkla.
Champirun, T. (2011). The role and duty of women as the person behind the success of the family according to Buddhist principles. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Mukdamuang, P. (2020). The role of village headmen in the effectiveness of the policy for prevention and solving drug problems in That Phanom District. (Master’s Thesis). Sakon Nakhon Rajabhat University. Sakon Nakhon.
Nan Provincial Public Relations Office. (2023). Nan Province organized a meeting of the Nan Province Narcotics Prevention and Suppression Center Committee. (Provincial Narcotics Control Board) No. 72566, integrating all sectors to join in preventing and suppressing drugs in the area. Accessible from
https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG230726224835194. (Data search date: 20 June 2023).
Office of the Narcotics Control Board. (2020). Action plan for drug prevention and suppression 2020 - 2022. Bangkok: Office of the Narcotics Control Board.
Sangrung, P. (2011). Human relations in organizations. Bangkok: BK Inter Print.
SuthilertArun, S. (2004). Human behavior and personal development. Bangkok: Thipwisut Songkhla. (Master’s Thesis). Songkla University. Songkla.
Thung Chang District Registration Office. (2022). Five-year district development plan, 2023 - 2027.
Trinawong, N. (2020). Participation of village headmen and village heads in drug prevention. Case study of Wang Hamhae subdistrict Khanu Woralaksaburi District Kamphaeng Phet Province. (Master’s Thesis). Ramkhamhaeng University. Bangkok.