ยุวสล่า : การถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่

Main Article Content

เกรียงศักดิ์ ฟองคำ
พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์
ดำเนิน หมายดี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการถ่ายทอดและทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่ 2) เพื่อถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่ 3) เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญางานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่ สู่สาธารณะซึ่งเป็นการวิจัยแบบคุณภาพในรูปแบบของ (R & D & Action Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มปราชญ์และช่างภูมิปัญญางานพุทธศิลป์ กลุ่มยุวสล่า กลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 35 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Groups Discussion) การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ และการถอดองค์ความรู้บและสภาพปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนารูปแบบกระบวนการถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์


ผลการวิจัย พบว่า


1. รูปแบบกระบวนการถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่ ใช้วิธีการเชิงระบบ (Systems Approach) ในการสังเคราะห์ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) การควบคุม (Control) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)


2. การถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ ด้วยการจัดกิจกรรมอบรมสามเณรนักเรียนช่างสิบหมู่ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ได้รับความรู้ ความเข้าใจและทักษะความชำนาญในงานสล่าพุทธศิลป์ได้เป็นอย่างดี มีบางส่วนที่ยังไม่ค่อยมีทักษะมาก แต่ก็สามารถทำงานได้เพียงแต่จะต้องเพิ่มทักษะและสมาธิในการลงมือปฏิบัติงานช่างและมีเวลาในการลงมือทำอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ผลจากการถ่ายทอดและพัฒนาทักษะทำให้ได้ผลสำเร็จของงานพุทธศิลป์ที่เกิดเป็นมูลค่าทางปัญญาควรแก่การสืบทอด 4 ผลงาน ได้แก่ ธรรมาสน์ บุษบก ตุงกระด้าง และพระพุทธรูปไม้แกะสลัก


3. การเผยแพร่ภูมิปัญญางานสล่าพุทธศิลป์สู่สาธารณะ คณะผู้วิจัยจัดเวทีงานพุทธศิลป์คืนข้อมูลการวิจัยให้กับชุมชน โดยนิมนต์และเรียนเชิญบุคคล หน่วยงาน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมประชุมฟังการบรรยายองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบกระบวนการถ่ายทอดงานสล่าพุทธศิลป์จังหวัดแพร่ประมาณ 50 รูป/คน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการหาแนวทางถ่ายทอดพัฒนาทักษะงานพุทธศิลป์โดยเริ่มจากหาสาเหตุของปัญหาไปสู่การแก้ปัญหาทั้งในระดับบุคคลและระดับภาพรวมของงานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่


หน่วยงานที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ โรงเรียนบวรวิชชาลัย ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วัดทุ่งกวาว ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และวัดยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญาโดยวัดร่องฟองและโรงเรียนบวรวิชชาลัยได้สร้างแหล่งเรียนรู้ผลงานสล่าพุทธศิลป์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับสาธารณชนและองค์กรต่าง ๆ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้งานวิจัยในอบรมและถ่ายทอดให้แก่กลุ่มเป้าหมายและผู้ที่มีความสนใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Faculty Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2018). Buddhist art. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing House, 2018.

Kalayanamit, C. (1996). Traditional Thai architecture. Bangkok: Association of Siamese Architects, 1996.

Kathryn & David. (1998). System Theory (System Theory).

Kantasak, M. (2017). Lanna Buddhist Art: Concepts, Values, Gration to Strengthen the Spirit and Learning of Society. (Research report). Chiang Rai Buddhist College: Mahachulalongkornrajavidyalaya University 2017.

Lanwong , A., Phrapanuwat Chantawattano & Phramahaphiratkorn Angsumalee. (2020). Buddhist Art: Value and Influence on People’s Lives In the northeastern region. Journal of Buddhist Education and Research: JBER, 6(2), 265-272.

Phrakru Phattharajittaporn, Phramahasuporn Rakkhitadhammo, and Phrayutthana Athichitto (2020). Form of promoting the conservation of Buddhist arts of the chapel in Nakhon Ratchasima Province. MCU Ubonparitharat Journal, 5(2), 32-42.

Phrkru Sutchayaporn (Kheawsuk) & Chaiyaphum, A. (2016). A study of the process of inheriting Buddhist arts in Nakhon Lampang. Journal of ASEAN Buddhist Studies,1(1), 73-92.

Saijai, K. (2017). The relationship between the internal supervision process and the skills of creating learning management plant at Suphanburi Technical College. Journal of Humanities and Social Sciences Rajapuek University, 3(3), 130-142.

Sutthiphan. A. (1985). Popular art. Bangkok: Sa Paper Publishing House. Bangkok: Sa Paper Publishing House.

Thammachai, M. (2018). Inheritance and creation of Lanna Buddhist art work: A case study of Benjimin Suta artisan work from Buddhist art work at Hat Nak Temple Sop Tia Subdistrict Chom Thong District Chiang Mai Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.