การพัฒนาที่ยั่งยืนสู่สังคมแห่งความเป็นธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลเมืองเขลางค์นคร

Main Article Content

มนูญ บุญนัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทสภาพทั่วไป ปัญหาสาเหตุ อุปสรรค และความจำเป็นในการพัฒนาเทศบาลเมืองเขลางค์นคร 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและปัจจัยในการพัฒนาเทศบาลเมืองเขลางค์นครให้มีความยั่งยืนและเกิดสังคมแห่งความเป็นธรรม  3. เพื่อจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองเขลางค์นครให้มีความยั่งยืนและเกิดสังคมแห่งความเป็นธรรม 4. เพื่อเสนอแผนแม่บทการพัฒนาเทศบาลเมืองเขลางค์นครให้มีความยั่งยืนและเกิดสังคมแห่งความเป็นธรรม การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริหาร บุคลากรและสายสนับสนุน จำนวน 100 คน รูปแบบวิธีการวิจัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยด้วยกัน 3 แบบ คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และ 3) แบบเชิงปฏิบัติการ (Action research) ผู้วิจัยใช้กระบวนการการสนทนากลุ่ม (Focus Group)


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้บริหารและบุคลากรมีความคิดเห็นต่อการการพัฒนาเทศบาลเมืองเขลางค์นครที่ยั่งยืนเกิดสังคมแห่งความเป็นธรรมอยู่ในระดับดีมาก ประกอบด้วย          


1.ด้านเศรษฐกิจ มีการนำผลผลิตที่ได้จากการจัดกิจกรรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนมาสนับสนุนประชาชนให้พึ่งตนเองได้ มีโครงการส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาชุมชนยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนอยู่อย่างพอเพียง                                                  


2.ด้านสังคม มีการกำหนดนโยบาย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีการติดตามผลการดำเนินการในการพัฒนาชุมชน   


3.ด้านสภาพแวดล้อม มีการสนับสนุนพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน และสร้างระบบและกลไกสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและประชาชนอย่างต่อเนื่อง 


4.ด้านหลักธรรมาภิบาล มีการบริหารงานที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คือ 1. ด้านการมีส่วนร่วม ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม 2. ด้านความโปร่งใส ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารอย่างทั่วถึง 3. ด้านนิติธรรม ผู้นำมีการใช้กฎหมายอย่างศักดิ์สิทธิ์ 4. ด้านคุณธรรม ผู้นำมีคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานในองค์กร 5. ด้านความรับผิดชอบ มีการปลูกฝังการมีจิตสาธารณะ ซื่อสัตย์ ความพอเพียง ของผู้ปฏิบัติการ 6. ด้านความคุ้มค่า มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ มี 5 ด้านความยั่งยืนตามแนวพุทธ ส่งเสริมให้ประชาชน ในชุมชนได้เห็นคุณค่า และตระหนักถึง ความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
บุญนัด ม. . (2024). การพัฒนาที่ยั่งยืนสู่สังคมแห่งความเป็นธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 13(3), 268–283. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272452
บท
บทความวิจัย

References

Burikun, T. (2018). Driving the Sustainable Development Goals (SDGs): A case study of using participatory patriarchy among Thai youth to enhance road safety (Research Report). Bangkok: King Prajadhipok's Institute.

Chantarathammatat, T. et al. (2021). study and analysis of sustainable development goals of the United Nations Organization for Integrative Buddhism (Research Report). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Department of Environmental Quality Promotion. (2009). Sustainable urban environmental management. Retrieved April 10, 2023, from https://www.Tei.or.th

Ministry of Foreign Affairs of Thailand. (2017). Sufficiency Economy Philosophy: The Path to Thailand's Sustainable Development Goals. Retrieved April 10, 2018, from https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/sustainable-development-goals/

Pawala, T. et al. (2019). Sustainable community economic development based on natural resources and wisdom, Local according to the Sufficiency Economy approach, Nong Mek Subdistrict Na Chueak Distric (Research Report). Maha Sarakham: Rajabhat University.

Phawasit, S. (2012). Process model for strengthening and applying social justice, case study Of central region communities, Doctor of Philosophy Social Development and Environmental Management. (Doctoral Dissertation). Development Administration (NIDA). Bangkok.

Sirichamon, S. (2009). Good governance in environmental management of local Governmentt organizations: a case study of a municipality Mueang Si Racha, Chonburi Province. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.