แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสองแควที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการ

Main Article Content

ชยานันท์ สีคำ
ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล
พิทยา แสงสว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็น 2) สร้างและตรวจสอบแนวทาง 3) ทดลองใช้และประเมินแนวทางทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอน 1 ประเมินความต้องการจำเป็น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครู ผู้ประกอบการ นักเรียน นักศึกษา จำนวน 129 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธี PNI ขั้นตอน 2 สร้างและตรวจสอบแนวทาง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอน 3 ทดลองใช้และประเมินการใช้แนวทาง โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และประเมินตามรูปแบบของเคิร์กแพทริค ผู้ให้ข้อมูล คือ นักเรียน นักศึกษา จำนวน 86 คน เครื่องมือการวิจัยใช้คู่มือ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินความต้องการจำเป็น พบว่า เมื่อเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) การบริการ 2) ความซื่อสัตย์ 3) ความนอบน้อม 4) การเสียสละ และ 5) การเสริมพลังอำนาจ 2. ผลการสร้างและตรวจสอบแนวทาง พบว่า ผลการสร้างแนวทาง ประกอบด้วย 1) แนวคิดหลัก 2) จุดประสงค์ 3) เนื้อหา 4) แนวทางดำเนินกิจกรรม 5) สื่อ/แหล่งเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผล และผลการตรวจสอบแนวทางมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้และการประเมินการใช้แนวทาง พบว่า 3.1 การทดลองใช้โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดังนี้ 1) วางแผน ประชุมทีม กำหนดกิจกรรม 2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 3 หน่วย ใช้เวลา 12 ชั่วโมง และ PLC สะท้อนผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ 6 ชั่วโมง 3) สังเกต ให้คำปรึกษา 4) สะท้อนผลการฝึกประสบการณ์ 3.2 ผลการประเมินการใช้แนวทาง พบว่า 1) ผลการประเมินปฏิกิริยาความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินการเรียนรู้เปรียบเทียบหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการประเมินพฤติกรรม พบว่า นักเรียนนักศึกษาสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการเรียนรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาตามคู่มือเกิดการซึมซับพฤติกรรมในการใฝ่บริการ สามารถปฏิบัติตนในการฝึกงานในสถานประกอบการณ์ได้ และ 4) ผลการประเมินผลลัพธ์ พบว่า แนวทางที่พัฒนาเป็นประโยชน์ต่อวิทยาลัย ผู้บริหาร ครู และนักเรียนนักศึกษา โดยมีส่วนในการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักเรียนนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amornwuttikorn, K. (2019). A Servant Leadership Development Program for Student Trainees in the Furniture Companies in the Northeastern Region. (Doctor Dissertation). Sakon Nakhon Rajabhat University. Sakon Nakhon.

Hongsirikarn, K., Wongvanichtawee, C., & Santisarn, B. (2019). Characteristics of Successful Startup Leadership in Thailand. Journal of politics, administration and law, 12(1), 261-278.

Intawong, K. (2021). Servant leadership: Meaning, Relationship and Application in the Organization. Journal of Humanities and Social Sciences Mahamakut Buddhist University Isan Campus, 2(1), 31-38.

Keawsampanjai, P. (2022). Servant leadership: Essential Skills for Student in New Normal. Journal of Association of Professional Development of Educational Administration of Thailand, 4(4), 65-75.

Monitoring and Reporting Group, Vocational Education Monitoring and Evaluation Office. (2022). Problem conditions and limitations of educational institutions and suggestions from educational institutions in driving the organization Vocational Education, Fiscal Year 2022. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission.

Songkae Technical College. (2023). Government operational plan for fiscal year 2024. Phitsanulok: Songkae Technical College.

Sudjaiand, P. & Kaewnin, T. (2022). Relationships Between Service Strategy and Competitive Advantage in Nakhon Pathom Province. Journal of Educational Management and Research Innovation, 5(1), 73-84.

Thaikasame, S. (2015). Developing the Measurement Model of Entrepreneur’s Servant Leadership Style in Small and Medium Business in Chachoengsao Province. Journal of the Association of Researchers, 20(2), 59-69.