วิเคราะห์วรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนา: กรณีพระอานนท์กับนางโกกิลา

Main Article Content

ประยงค์ แสนบุราณ
พิริยานาถ พีรยาวิจิตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะเนื้อหาและองค์ประกอบของวรรณกรรม 2) ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏผ่านวรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนาเรื่องพระอานนท์พุทธอนุชา: กรณีพระอานนท์กับนางโกกิลา 3) ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าที่มีต่อสังคมไทย
ผลการวิจัยพบว่า
1) กรณีพระอานนท์กับนางโกกิลาเป็นวรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนาที่แต่งขึ้นในลักษณะความเรียงร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี ที่มุ่งให้ความรู้ทางพุทธธรรมแก่ผู้อ่าน ผู้ประพันธ์ได้อาศัยเรื่องราวของความรักเป็นแกนนำผู้อ่านไปสู่สัจธรรม โดยเป็นเรื่องราวของสตรีผู้หนึ่งซึ่งมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ในพระอานนท์และเข้ามาบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเพื่อที่จะได้อยู่ใกล้ชิดกับพระอานนท์แต่ท้ายที่สุดความรักก็สิ้นสุดลงด้วยความไม่สมหวังและจากการได้สดับรสแห่งพระสัจธรรมทำให้โกกิลาภิกษุณีได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ขีณาสพในที่สุด นอกจากผู้ประพันธ์ได้นำหลักธรรมมาวางเป็นโครงเรื่องแล้วยังได้สอดแทรกคติธรรมคำสอนทั้งเบื้องต้นและเบื้องสูงไว้ผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ของวรรณกรรม เพื่อที่จะสื่อความหมายของเรื่องให้เข้าใจง่ายและชัดเจนในลักษณะที่สัมพันธ์กับบทบาทของตัวละคร แนวคิดของเรื่องชี้ให้เห็นถึงความทุกข์ของมนุษย์โดยมีสาเหตุมาจากโมหะหรือความหลงในสิ่งสมมุติทั้งหลาย ส่วนการปิดเรื่องของวรรณกรรมใช้วิธีปิดเรื่องแบบพลิกความคาดหมาย โดยโกกิลาได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนาซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสัจธรรมของกฎธรรมชาติแห่งพระไตรลักษณ์ในชีวิตของปุถุชนที่เปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพเหตุและปัจจัยแวดล้อม 2) หลักธรรมที่ปรากฏผ่านวรรณกรรมมีหลักธรรมใน 2 ประเด็น คือ โลกียธรรม ได้แก่ ความเป็นไปแห่งสังขาร กิเลสธรรมสามประการ สิ่งอันเป็นที่รัก เรื่องบาปและมลทิน ฐานะที่พึงรู้ด้วยฐานะ สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ความพลัดพรากและไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการเป็นความทุกข์ ว่าด้วยสิ่งอันเป็นที่พึ่ง ความเสียสละ เมถุนธรรมและเรื่องวรรณะและชาติตระกูล และโลกุตตรธรรม ได้แก่ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งหลักธรรมคำสอนเหล่านี้นำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และ 3) ด้านคุณค่าของวรรณกรรมที่มีต่อสังคมไทย มี 3 ด้าน ดังนี้ 3.1) คุณค่าทางด้านปัญญา คือ การสอนธรรมตามแนวพุทธวิธี 3.2) คุณค่าทางด้านจิตใจ คือ คุณค่าวรรณกรรมในฐานะที่เป็นศิลปะ 3.3) คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ได้สะท้อนให้เห็นคุณค่า 2 ด้าน คือ ด้านสุนทรียรส ที่ผู้ประพันธ์แสดงชั้นเชิงการใช้ความงามแห่งความไพเราะในการบรรยายพฤติกรรมของตัวละคร และด้านการใช้อุปมาโวหารที่ผู้ประพันธ์ได้นำมาใช้เพื่อให้กระบวนการใช้ถ้อยคำมีศิลปะก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก และจินตนาการทำให้ผู้อ่านประทับใจมองเห็นภาพพจน์ตามข้ออุปมา

Article Details

How to Cite
แสนบุราณ ป. ., & พีรยาวิจิตร พ. (2024). วิเคราะห์วรรณกรรมอิงพระพุทธศาสนา: กรณีพระอานนท์กับนางโกกิลา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 13(3), 94–108. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/272721
บท
บทความวิจัย

References

Charoenkunwiwat, T., Sakyaphinan, W., & Panhuaphai, T. (2020). An analytical study of the ethical concepts of Theravada Buddhism in the novel Ngao by Rosalaren. Journal of Academic Humanities, 27(1), 301-323.

Faculty of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2019). Thesis of Bachelor of Buddhist Studies 2019. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Printing House.

Henkratok, N. (2016). A study and analysis of the Buddhist principles that appear in the Lanna Buddhist literature, Maha Wipak. MCU Phrae Campus, 2(2), 85 – 96.

Inthasara, W. (2015). Buddhists and the crisis of faith. (2nd ed.). Samut Prakan: Boonsiri Printing.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2017). Thai Tripitaka. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Onratmi, B. (2021). The life story of the 29 Buddhas & Summary of the principles of Buddhism. Bangkok: Dhammathanakusaljit Foundation and the Museum of Buddhism Promotion.

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (2017). Buddhist Jurisprudence. Bangkok: Winyuchon.

PhraPhaivanh Malavong & Phramaha Daosayam Vajirapañño. (2020). Analysis of Buddhist principles that appear in Lao literature: Siew Saowad and its influence on the Lao people's way of life. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 7(3), 193 – 209.